ความหวังที่จะทำให้พลาสติกหายไปจากโลกหมดลง! เมื่อการเจรจาการใช้พลาสติกทั่วโลกล้มเหลว เนื่องจากมีความขัดแย้ง จากกลุ่มประเทศที่ผลิตน้ำมัน
“สนธิสัญญาพลาสติกโลก” เป็นมาตรการด้านมลพิษจากพลาสติก ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ แก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกอย่างครอบคลุมและจัดการพลาสติกตลอดวงจรชีวิตให้เสร็จสิ้นภายในปี 2567
จากการเจรจาเรื่องพลาสติกโลกครั้งล่าสุด ทำให้ผู้ที่เห็นด้วยกับการจัดการพลาสติกตลอดวงจรชีวิตผิดหวังไปตาม ๆ กัน เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศที่เห็นด้วยกับการยุติการใช้พลาสติก และประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ไม่เห็นด้วย และออกมาเตือนว่าหากยุติการใช้พลาสติกจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของโลก
แต่ผู้เจราจากประเทศคูเวตได้กล่าวในชั่วโมงสุดท้ายของการเจราจาว่า “วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญานี้คือการยุติมลพิษจากพลาสติก ไม่ใช่จากพลาสติกโดยตรง แต่พลาสติกนำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลต่อสังคมทั่วโลก”
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา หรือเมื่อ 74 ปีที่แล้ว การผลิตพลาสติกทั่วโลกมีมากกว่า 8 พันล้านตัน และมีการรีไซเคิลไม่ถึง 10% ของจำนวนที่ผลิตมาทั้งหมด ทำให้ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นมานั้นไหลลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร ทำให้สัตว์น้ำ และระบบนิเวศทางทะเลในรับผลกระทบอย่างหนัก สัตว์น้ำหรือสัตว์ทะเลบางสายพันธุ์ลดลงเป็นจำนวนมาก
กลุ่มประเทศจำนวน 95 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศแอฟริกา และอเมริกาใต้หลายประเทศ เห็นด้วยกับการลดระดับในการผลิตพลาสติก ซึ่งทางหัวหน้าเจรจาของอย่างประเทศเม็กซิโกได้กล่าวในการประชุมครั้งสุดท้ายนี้ว่า “เราต่างแบกรับความคาดหวังจากประชาชนของเรา ที่หวังพึ่งให้เราปกป้องพวกเขาและปกป้องสิ่งแวดล้อมจากวิกฤตมลพิษพลาสติก”
"เราต้องทำทุกวิถีทางที่เราทำได้เพื่อให้บรรลุความคาดหวังนี้"
เมื่อคำพูดนี้สิ้นสุดลง เสียงปรบมือดังกึกก้องทั่วห้อง แต่กลุ่มประเทศที่ผลิตน้ำมัน อาทิ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน คูเวต และรัสเซีย คัดค้านอย่างหนัก เนื่องจาก ปัจจุบันทั่วโลกหันมาใช้พลังงานสะอาดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลกันมากขึ้น แต่การผลิตพลาสติกในตลาดตอนนี้ถือว่าเจิญเติบโตได้ดี และนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศที่ผลิตน้ำมันเป็นกังวลหากจะลดจำนวนหรือยุติการผลิตผลาสติกลง
“ความพยายามที่จะยุติการใช้พลาสติกแทนที่จะแก้ไขปัญหาการผลิตพลาสติกมีความเสี่ยงที่จะทำลายความก้าวหน้าในระดับโลกและทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจเลวร้ายลง” ซัลมาน อาลาจมี ผู้แทนคูเวตกล่าว
เมื่อการเจรจาในครั้งนี้ไม่สำเร็จองค์กรการกุศลด้านสิ่งแวดล้อมและนักวิทยาศาสตร์ผิดหวังอย่างยิ่ง และยังคงกังวลกับอิทธิพลของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล
การเจรจาที่ล้มเลวในครั้งนี้จะทำให้ การดำเนินการที่จะยุติปัญหามลพิษจากพลาสติกล่าช้าออกไปอีก ซึ่งในการเจรจาครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น คาดว่าจะกลับมาประชุมอีกครั้งในปีหน้าเพื่อบรรลุข้อตกลงตามสนธิสัญญานี้ต่อไป
ที่มา
Comments