นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งสกอตแลนด์ได้ค้นพบ “ออกซิเจนมืด” ที่อยู่ใต้มหาสมุทร เลิกความเชื่อที่ว่าออกซิเจนขาดแสงอาทิตย์ไม่ได้
เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ค้นพบว่า ใต้มหาสมุทรที่ลึกจนแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงนั้นมีออกซิเจน โดยอกซิเจนชนิดนี้ได้ถูกเรียกว่า “ออกซิเจนมืด” (Dark Oxygen) มีต้นกำเนิดจาก “ก้อนโลหะ” กลมเล็กที่แยกองค์ประกอบของน้ำ (H2O) ให้เป็นออกซิเจนและไฮโดรเจนได้
จุดเริ่มต้นของการค้นพบนี้เกิดขึ้นในปี 2013 แอนดรูว์ สวีทแมน (Andrew Sweetman) นักสมุทรศาสตร์ที่กำลังนั่งอยู่บนเรือ สังเกตเห็นสิ่งที่ผิดปกติของอุปกรณ์ตรวจวัด นั่นก็คือเซนเซอร์ของอุปกรณ์ตรวจวัดแสดงให้เห็นว่าใต้ก้นทะเลลึก ในเขตคลาเรียน - คลิปเปอร์ตัน (CCZ) ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่มีความลึกราว ๆ 4 กิโลเมตร มีการสร้างออกซิเจน ในนาทีนั้น แอนดรูว์ สวีทแมน คิดว่าอุปกรณ์ตรวจวัดนั้นเสีย เนื่องจากเขามีความเชื่อว่า ออกซิเจน “ต้องเกิดมาจากการสังเคราะห์แสงเท่านั้น” ซึ่งความลึก 4 กิโลเมตรในทะเลไม่มีแสงอาทิตย์ส่องถึงแน่นอน แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการผลิตออกซิเจนโดยที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์แสงและไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ เลย
แต่แอนดรูว์ สวีทแมน ก็ได้พิสูจน์ด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดถึง 3 ครั้ง ผลลัพธ์ก็ยังคงเหมือนเดิมนั่นก็คือ “พบการสร้างออกซิเจน” ใต้ทะเลลึก จึงเกิดความเอะใจ เขาและทีมจึงเริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการผลิตออกซิเจนใต้ท้องทะเลอย่างจริงจัง หากเขาและทีมทำได้สำเร็จจะเป็นการพลิกความเชื่อในการผลิตออกซิเจนโดยที่ไม่ต้องสังเคราะห์แสงและไม่มีสิ่งมีชีวิตไปตลอดกาล
จนในที่สุดวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา แอนดรูว์ สวีทแมน และทีมวิจัย ได้เผยแพร่ลงวารสาร Nature Geoscience ที่ได้ระบุว่าออกซิเจนมืดเกิดมาจาก “ก้อนโพลีเมทัลลิก” (Polymetallic Nodules)
นักวิจัยพบก้อนโลหะชนิดนี้บริเวณขอบเขตทะเล “คลาเรียน - คลิปเปอร์ตัน” (Clarion Clipperton Zone) หรือ CCZ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ก้อนโลหะนี้ประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น โคบอลต์ นิกเกิล ทองแดง และแมงกานีส ซึ่งธาตุเหล็กเหล่านี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี่ โทรศัพท์ กังหันลมและแผงโซลาร์เซลล์
คลาเรียน - คลิปเปอร์ตัน (Clarion Clipperton Zone) หรือ CCZ
พื้นที่ราบใต้ทะเลที่มีความลึกถึง 3 - 6 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ระหว่างหมู่เกาะฮาวายและเม็กซิโก ได้รับความสนใจจากบริษัทเหมืองแร่อย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญต่ออุตสาหกรรมและการผลิตเทคโนโลยีสมันใหม่ พื้นที่นั้นคือ เขตคลาเรียน - คลิปเปอร์ตัน (Clarion Clipperton Zone) หรือ CCZ ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยที่ก้อนโลหะเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วพื้นที่
แต่เมื่อค้นพบก้อนโลหะชนิดนี้แล้ว ทีมนักวิจัยก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่าก้อนโลหะที่ค้นพบนี้จะสร้างออกซิเจนได้อย่างไร แต่เบื้องต้นทราบว่าก้อนโลหะเกิดจากแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล เมื่อจับตัวกับเปลืิอกหอยหรือวัตถุขนาดเล็กเป็นเวลานานหลายล้านปี จึงเกิดเป็นก้อนโลหะ “โพลีเมทัลลิก” ที่มีลักษณะกลมเท่าหัวมันฝรั่ง และในสารคดีขุดหาธาตุใต้น้ำ ได้มีคนกล่าวว่าก้อนโลหะชนิดนี้มันคือ “แบตเตอรี่ก้อนหิน” จึงทำให้แอนดรูว์ สวีทแมน ได้จุดประกายความคิดว่า หรือก้อนโลหะจะเป็น “เคมีไฟฟ้า” ที่สามารถขุดไปทำแบตเตอรี่ได้ เขาจึงเข้าพบ “ฟรานซ์ ไกเกอร์” (Franz Geiger) นักเคมีไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทอร์น แล้วได้พบว่าประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในก้อนโลหะนี้ทำให้เกิดกระบวนการ “อิเล็กโทรไลซิส” ที่เป็นการแยกน้ำทะเล (H2O) ให้เป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งก้อนโลหะนี้มีประจุไฟฟ้าเทียบเท่ากับถ่านขนาด AA ได้เลย
การค้นพบเหล่านี้เป็นการค้นพบที่น่าอัศจรรย์และเป็นการพลิกความเชื่อเดิมที่มีมาอย่างยาวนาน แต่การค้นพบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือได้เจอแหล่งพลังงานใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ที่อาจทำให้มีประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้ ส่วนข้อเสียนั้นเป็นที่น่ากังวลเพราะก้อนโลหะเหล่านี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกับแบตเตอรี่และอยู่ใกล้กับบริษัทเหมืองแร่ ซึ่งตอนนี้บริษัทเหมืองแร่ก็มีความสนใจอย่างมากกับก้อนโลหะชนิดนี้ หากไม่มีมาตรการรับมือ ระบบนิเวศและแร่ธาตุที่อยู่ในบริเวณ CCZ หรือบริเวณใกล้เคียงอาจถูกทำลายในเร็ววัน
ที่มา
เผยแพร่เมื่อวันที่
นเวียนคืออะไพลังนหมุนเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงาที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใธรอทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลัม่ก่อมลพิษ หรือส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปล วันมอร์ลิงค์ จำกัด รับกำจ----------------ต้องการข้อมูลด้านการบริการสิ่งแวดล้บถไที่g : 083-844222
Comments