top of page
YOLO

งานวิจัยล่าสุดเผย! อีก 20 ปีข้างหน้า มนุษย์จำนวน 70% ของโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศอันเลวร้าย


งานวิจัยล่าสุดเผย! อีก 20 ปีข้างหน้า มนุษย์จำนวน 70% ของโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศอันเลวร้าย

งานวิจัยล่าสุดเผย! อีก 20 ปีข้างหน้า มนุษย์จำนวน 70% ของโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศอันเลวร้าย


จากงานวิจัยใหม่ล่าสุดได้มีการทำนายว่า ภายในสองทศวรรษหรืออีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรสามในสี่ของโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เลวร้าย


นักฟิสิกส์จากศูนย์วิจัยสภาพอากาศระหว่างประเทศ (CICERO) ในเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ “Bjørn Samset” ได้กล่าวว่า “ในกรณีที่ดีที่สุด มีการคำนวณได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รวดเร็วจะส่งผลกับประชากร 1,500 ล้าน” 


การประมาณการที่ต่ำกว่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้แน่นอน ไม่อย่างนั้นแล้ว การสร้างแบบจำลองของ “Carley Iles” นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของ  CICERO และเพื่อนร่วมงานพบว่า หากเรายังดำเนินไปยังวิถีในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่อันตรายเหล่านี้จะส่งผลต่อประชากรโลกที่อยู่บนโลกถึงร้อยละ 70


และการสร้างแบบจำลองนี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่าสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้ว 


Samset ได้อธิบายวิธีแก้ปัญหานี้ไว้ว่า “วิธีเดียวที่จะสามารถรับมือกับสิ่งนี้ได้คือเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ร้ายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอีก 20 ปีข้างหน้า”


การวิจัยในครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้รวมแบบจำลองสภาพอากาศถึง 4 แบบด้วยกัน เพื่อคำนวณว่าปริมาณน้ำฝนสูงสุดและอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหนในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยจากแบบจำลองของ “Carley Iles”และทีมงาน แสดงให้เห็นว่าหากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงมากยิ่งขึ้นสภาพอากาศก็จะเลวร้ายอย่างต่อเนื่อง


เมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นแน่นอนว่าผลกระทบต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น ทุกคนอาจจะเห็นได้จากภัยธรรมชาติในปัจจุบันที่เกิดขึ้นบ่อยและมีความรุนแรงมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ และภัยแล้ง จะส่งผลให้พืชผลเสียหายและเกิดภาวะอดอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้การแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายมากเช่นกัน


การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแบบสุดขั้วจะส่งผลกระทบต่อบริเวณใดมากที่สุด?


ปัจจุบันการศึกษาที่สำรวจผลกระทบของสภาพอากาศที่เลวร้ายต่อประเทศต่าง ๆ อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า นักวิจัยใช้การจำลองสภาพอากาศสี่แบบ เพื่อค้นหาว่าปริมาณน้ำฝนสูงสุดและอุณหภูมิจะเปลี่ยนไปมากเพียงใดในอีก 20 ปีข้างหน้า


ทาง “Carley Iles” ได้กล่าวไว้ว่า “เราให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้คนและระบบนิเวศมากกว่าเมื่อก่อนเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก และระบุภูมิภาคที่คาดว่าจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในอัตราของดัชนีเหตุการณ์สุดขั้วหนึ่งรายการ หรือมากกว่านั้นในทศวรรษหน้า”


ภายใต้สถานการณ์ที่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย ภูมิภาคต่าง ๆ เช่น เมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกเฉียงเหนือและอเมริกาใต้ และเอเชียตะวันออก อาจเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองทศวรรษหรือมากกว่านั้น


ดังนั้นหากไม่อยากให้สถานการณ์เลวร้ายไปมากกว่านี้หรือเกินกว่าที่เราจะคาดคิด เราจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างทันที


ที่มา


เผยแพร่เมื่อวันที่



1 view

留言


bottom of page