top of page
YOLO

ทำไมสหรัฐอเมริกา ถึงเกิด "พายุ" บ่อยและรุนแรง สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก


เฮอริเคนมิลตัน

ทำไมสหรัฐอเมริกา ถึงเกิด "พายุ" บ่อยและรุนแรง สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก


จากเหตุการณ์พายุทอร์นาโด กว่า 10 ลูกเข้าถล่มรัฐฟอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่พายุเฮอริเคน “มิลตัน” จะเข้าถล่มตามมา สร้างความเสียหายหลายพื้นที่ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาก็ต้องพบกับพายุอยู่บ่อยครั้ง แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นบ่อยขนาดนี้?


ทอร์นาโดคืออะไร?


พายุทอร์นาโดเกิดเป็นกระแสลมหมุนที่มีความรุนแรงสูง ลักษณะจะเป็นกรวยที่หมุนอย่างรวดเร็วและมีแรงลมสูงมาก ส่วนใหญ่แล้วพายุทอร์นาโดจะเกิดขึ้นบนบก ทำลายสิ่งก่อสร้างและสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าพลังทำลายล้างสูงมาก



ทอร์นาโด


เฮอริเคนคืออะไร?


พายุเฮอริเคน คือ พายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูง เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก มักก่อให้เกิดลมแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วม และคลื่นทะเลที่สูง ระดับความแรงแบ่งออกได้ 5 ระดับตามความเร็วลม ซึ่งพายุเฮอริเคน “มิลตัน” ที่เข้าถล่มสหรัฐอเมริกานั้นก่อตัวที่ความแรงระดับ 5 ก่อนที่จะเอากำลังลง



เฮอริเคน


แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นบ่อยในสหรัฐอเมริกา?


พายุทอร์นาโด และ พายุหมุนเขตร้อน สามาถเกิดขึ้นได้หลายประเทศ หากมี 3 ปัจจัยหลักคือ มวลอากาศร้อนชื้น มวลอากาศเย็นแห้ง และการเหนี่ยวนำที่ทำให้มวลอากาศทั้งสองมาพบกัน ซึ่งสหรัฐอเมริกานั้นมีครบทั้ง 3 ปัจจัยจึงทำให้เกิดพายุบ่อยครั้ง ปัจจัยที่เหลือก็เป็นเรื่องของพื้นที่ราบที่มีมากในสหรัฐอเมริกา ทำให้ความเร็วในการเคลื่อนที่ของมวลอากาศเพิ่มขึ้น


โดยพื้นที่ในอเมริกาที่เกิดทอร์นาโดบ่อยเนื่องจากมีมวลอากาศร้อนชื้นจากอ่าวเม็กซิโกทางทิศใต้ มวลอากาศเย็นแห้งจากเทือกเขาร็อกกี้ทางทิศตะวันตก และลมกรดเจ็ตสตรีมที่ทำหน้าที่นำพามวลอากาศทั้งสองมาพบกัน และในส่วนของพายุเฮอริเคนนั้นมักเกิดขึ้นบ่อยในชายฝั่งตะวันออกและชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากน้ำทะเลบริเวณนี้อุ่น น้ำทะเลจึงระเหยได้เร็ว จึงทำให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้ง


และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกาพบเจอกับพายุอยู่บ่อยครั้ง และเนื่องจากปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็รุนแรงขึ้นทุกวัน ซึ่งก็อาจจะเป็นผลให้ความรุนแรงของพายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นประชากรโลกควรเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบที่เราอาจคาดไม่ถึง


ที่มา







1 view

Komentar


bottom of page