top of page
YOLO

นนทบุรี เริ่มปราบปลาหมอคางดำ! พร้อมปล่อยนักล่าฟื้นฟูระบบนิเวศ


นนทบุรีปราบปลาหมอคางดำ

นนทบุรี เริ่มปราบปลาหมอคางดำ! พร้อมปล่อยนักล่าฟื้นฟูระบบนิเวศ


นนทบุรี ร่วมแรงร่วมใจจับปลาหมอคางดำมาบริโภค 10 - 20 กิโลกรัม หวังปราบปลาหมอคางดำ และปล่อยปลานักล่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ


จังหวัดนนทบุรีและกรมประมงบูรณาการความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และชุมชน กำจัดปลาหมอดคางดำ ซึ่งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจับปลาหมอคางดำขึ้นมาปรุงอาหารทุกวัน วันละประมาณ 10 - 20 กิโลกรัม ตามแนวทางมาตรการในการแก้ไขระยะเร่งด่วน ได้แก่ 


1.การควบคุมและกำจัดในทุกแหล่งน้ำที่พบการระบาด

2.การปล่อยปลานักล่า อาทิ  ปลากระพงขาว ปลาอีกง ปลาช่อน ปลากราย เป็นต้น

3.การนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

4.การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายในแหล่งน้ำะรรมชาติ

5.การประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วน


ในการจับปลาหมอคางดำและการปล่อยปลานักล่าในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือจับปลาจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาปลานักล่าจากจังหวัดนนทบุรี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งก็ได้มีการปล่อยปลานักล่าไปแล้ว 128,000 ตัว ลงใน 2 ลำคลองเพื่อรักษาความสมดุลระบบนิเวศ และได้มีการร่วมมือกับผุู้นำชุมชนเพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำเพิ่ม เช่น การนำไปทำปลาร้า


ทางด้าน นางวีรพรรณ แก้วเพียวเพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า “จังหวัดนนทบุรีให้ความสำคัญกับการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเข้มข้น โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำชุมชนและชาวบ้านเพื่อควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในทุกลำคลอง”


และเมื่อไม่นานมานี้วันที่ 18 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมานี้ จังหวัดนนทบุรี ได้จัดกิจกรรม “ปล่อยปลานักล่า” (ปลากินเนื้อ) รวม 58,000 ตัว ลงสู่คลองบางคูเวียง ในอำเภอบางกรวย เพื่อควบคุมปลาหมอคางดำ ซึ่งถือว่าเป้นการจัดกิจกรรมปล่อยปลานักล่าครั้งที่ 2 โดยในครั้งแรกนั้นได้มีการปล่อยปลานักล่าไปทั้งหมด 70,000 ตัวลงสู่คลองปลายบางเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา 


ปัจจุบันปลาหมอคางดำถูกกำจัดออกจากลำคลองต่าง ๆ ในจังหวัดนนทบุรีได้วันละประมาณ 10 - 20 กิโลกรัม เมื่อจับขึ้นมาแล้วจะนำไปบริโภคในครัวเรือนและนำไปหมักปลาร้า และหลังจากนี้ จังหวัดนนทบุรีก็ยังดำเนินการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการกรมประมงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน “เจอ แจ้ง จับ” หากพบปลาหมอคางดำให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที และช่วยจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำโดยไม่ต้องรอ พร้อมทั้งมีแผนปล่อยปลานักล่าให้ครบทุกลำคลอง โดยจะสื่อสารขอความร่วมมือกับชุมชนไม่จับปลานักล่า เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อให้สามารถกำจัดปลาหมอคางดำขนาดเล็กให้หมดไป


ที่มา

1 view

Comentarios


bottom of page