top of page
YOLO

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลอยกระทงปีนี้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่นาน


ผลกระทบของการลอยกระทง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลอยกระทงปีนี้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่นาน


เทศกาลลอยกระทงประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง  ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเราควรจะทำอย่างไรให้ประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานนี้ยังคงอยู่ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด


ใกล้เข้ามาแล้วกับเทศกาลลอยกระทงของปีนี้ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ประเพณีที่สืบทอดกันมานานนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างมากมาย ถึงแม้จะปรับเปลี่ยนวัสดุในการทำกระทงจากใบตองเป็นขนมปังแล้วก็ตาม วัสดุเหล่านี้ก็ยังสร้างความเสียหายต่อแม่น้ำลำคลองในทุก ๆ ปี โดยที่เราไม่รู้ตัว


ประเพณีลอยกระทง


ประเพณีลอยกระทง  มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การลอยกระทงเป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชนทั้งสุวรรณภูมิหรือภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์  เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติอันมีดินและน้ำที่หล่อเลี้ยง ตลอดจนพืชและสัตว์ที่เกื้อกูลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์มนุษย์จึงมีชีวิตเจริญเติบโตขึ้นได้  แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไร แต่พิธีกรรมเกี่ยวกับ "ผี” ผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติมีอยู่กับผู้คนในชุมชนสุวรรณภูมิไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้วตั้งแต่ก่อนรับศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดีย


สำหรับในประเทศไทยการลอยกระทงเป็นประเพณีที่ชาวไทยสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถึงแม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด เพราะในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัยก็ไม่มีปรากฏชื่อ "ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ "เผาเทียนเล่นไฟ” ที่มีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่าการทำบุญไหว้พระส่วนราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำที่มีน้ำท่วมหลายเดือนจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญในการสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาให้เป็น "ประเพณีหลวง” ของราชอาณาจักร ดังมีหลักฐานตราไว้ในกฎมณเทียรบาล ว่าพระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จไปประกอบพิธีทางน้ำ เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งทางกสิกรรมของราษฎร และขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อประกอบพระราชพิธีโดยเฉพาะ ครั้นเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองเริ่มมั่นคง การศึกสงครามลดลงเกือบหมด การค้าก็มั่งคั่งขึ้น โดยเฉพาะกับจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฟื้นฟูประเพณีพิธีกรรมสำคัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร และด้วยความจำเป็นในด้านอื่น ๆ อีก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ ขึ้นมา โดยสมมุติให้ฉากของเรื่องเกิดขึ้นในยุคพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ซึ่งตำราดังกล่าวได้พูดถึงนางนพมาศ ว่า เป็นสนมเอกของพระร่วง ที่ได้คิดประดิษฐ์กระทงใบตองเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิด กระทง ทำด้วยใบตองแทนวัสดุอื่น ๆ แล้วนิยมใช้ลอยกระทงมาแต่คราวนั้น  อ่านต่อ 


ประเพณีลอยกระทง นิยมทำกันในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง เพราะเป็นช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น


วัสดุที่ใช้ในการทำกระทง


โดยปกติแล้ววัสดุที่ใช้ในการทำกระทงนั้นจะมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตมักนิยมใช้ใบตอง ปักธูปเทียนในการทำกระทง แต่ในปัจจุบันก็มีกระทงที่ทำมาจากขนมปัง หรือโคนไอติมเพื่อให้ปลาในแม่น้ำ หรือคลอง สามารถกินได้และเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น


ผลกระทบของประเพณีลอยกระทงต่อสิ่งแวดล้อม


ถึงแม้ว่าวัสดุในการทำกระทงจะทำมาจากวัสดุธรรมชาติก็ตาม แต่วัสดุเหล่านี้ก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และวัสดุบางอย่างที่ใช้ทำกระทง เช่น  ลูกแม็กซ์ เข็มหมุด ก็ไม่สามารถรีไซเคิลได้และเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้น้ำเน่าเสีย คุณภาพน้ำย่ำแย่ และถึงแม้วัสดุเหล่านั้นจะสามารถย่อยสลายได้หากอยู่ในน้ำนาน ๆ ก็จะกลายเป็นขยะและเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้


หากยังอยากลอยกระทงแต่ไม่อยากสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องทำอย่างไร?


ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนวิธีการในการลอยกระทงเพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลอยกระทงแบบออนไลน์ที่นอกจากจะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังสามารถเลือกรูปแบบของกระทงได้อีกด้วย ซึ่งในปี 2567 นี้ ทางกรุงเทพมหานคร ประกาศงดลอยกระทงจากขนมปัง และโฟม และรณรงค์ให้ใช้กระทงที่ทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ และลอยด้วยกัน 1 กลุ่ม 1 ครอบครัว 1 กระทง  


หลายคนอาจจะสงสัยว่าปลากก็กินขนมปังได้ไม่ใช่หรอ ลอยไปปลาก็กินอยู่ดี….ถูกต้องค่ะปลากินขนมปังได้แต่ถ้ามันมีจำนวนมากเกินไปปลาก็กินไม่ทันสุดท้ายแล้ว เศษขนมปังที่เหลืออยู่ก็จะจมลงกลายเป็นขยะอาหารที่ทำให้น้ำเน่าเสียหนักกว่าเดิม และใช้เวลาในการฟื้นฟูแหล่งน้ำนั้นนานกว่าเดิม เนื่องจากกระทงขนมปังนั้นหากเราลอย 1 คืน เราจะทำให้น้ำเน่าเสียเป็นเวลา 3 เดือนกันเลยทีเดียว


ที่มา


2 views

Comments


bottom of page