ปัจจุบันข่าวการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมนั้นก็ยังมีมาให้เราได้ยินตลอด ชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานที่ที่ลักลอบทิ้งนั้นก็ได้รับผลกระทบมากมาย แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมนั้นยังไม่หมดไป…
ในการกำจัดกากของสียอันตรายอย่างถูกวิธีนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงนั้นก็หมายความว่าต้นทุนก็ต้องสูงตามไปด้วยเช่นกัน แบบนี้การลักลอบทิ้งก็ง่ายกว่าอยู่แล้ว นอกจากจะไม่ต้องกำจัดแล้วยังไม่ต้องเสียเงินในการกำจัดอีกด้วย จึงทำให้เกิดหตุการณ์ลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมแบบที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่แล้วกากของเสียอันตรายที่ลักลอบทิ้งนั้นคือ กรด - ด่าง ที่ใช้แล้ว และน้ำมันที่ใช้แล้วเป็นต้น และพื้นที่ที่ลักลอบทิ้งนั้นส่วนมากจะเป็นพื้นที่เกษตรที่อยู่ลึก กรณีของโรงงานรีไซเคิลและโรงงานคัดแยกขยะนั้น ตามคำสั่ง คสช. 4/2559 สามารถตั้งโรงงานหรือก่อสร้างในพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่เกษตรได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายเพิ่มโอกาสในการลักลอบทิ้งมากขึ้น
พื้นที่ในการลักลอบทิ้งและเป็นที่ตั้งของกลุ่มโรงงานรีไซคิลประเภทนี้เยอะคือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ปราจีนบุรี และสระแก้ว ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. (ที่ดินเพื่อการเกษตรที่รัฐจัดสรรให้ประชาชนที่มีฐานะยากจน ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ), พื้นที่รกร้าง และพื้นที่ป่าไม้
ในประเทศไทยไม่มีระบบติดตามและจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมหรือ?
ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมนั้นก็มีระบบการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม เช่น การมีใบควบคุมกรกำกับการขนส่งของเสีย มีใบควบคุมรถในการขนส่ง มีGPS ติดตามรถขนส่ง หากโรงงานใดไม่ต้องการที่จะมีต้นทุนในการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมก็พียงแค่ปิด GPS แค่นั้น
ระบบการจัดการหรือติดตามกากของเสียอุตสาหกรรมนัั้นก็จะมี ผู้ก่อกำเนิด ผู้ขนส่ง แลผู้กำจัดของเสียอันตราย โดยผู้ก่อกำเนิดคือผู้ที่มีกากของเสียอุตสาหกรรมเป็นของตนเอง และจะนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปกำจัดอย่างถูกต้อง ผู้ขนส่งก็จะเป็นบริษัทขนส่งหรืออยู่ในนามตัวแทนของบริษัทรับกำจัด หรือในกรณีที่ผู้ใดมีรถบรรทุก ก็สามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทขนส่งก็ได้ ซึ่งนี่ก็คือช่องโหว่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ และในส่วนของผู้กำจัดของเสียอันตรายนั้นก็แบ่งได้หลายระดับตั้งแต่ระดับบริษัทมหาชน บริษัทจำกัด (ขนาดกลาง) และสุดท้ายที่พบบ่อยมากในปัจจุบันคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท แต่ก็สามารถมีใบอนุญาตในการคัดแยกและรีไซเคิลน้ำมันใช้แล้ว ซึ่งเป็นของเสียอันตราย การรีไซเคิลนั้นก็ไม่สามารถใช้กับของเสียได้ทุกชนิด เช่น กรด - ด่าง ที่ใช้แล้ว เพราะสิ่งนี้คือของเสียอันตราย ในการกำจัด กรด - ด่าง หรือน้ำมันที่ใช้แล้วนั้นควรนำไปเผาในเตาเผาปูนซีเมนต์มากกว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะระบุให้ชัดเจนและเจาะจงเลยว่าของเสียหรือกากของเสียอุตสาหกรรมชนิดใดที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพราะกฎหมายหรือข้อกำหนดในปัจจุบันนั้นระบุว่า การรีไซเคิลคือ “การนำของเสียมาผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมใหม่มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่” ซึ่งมันเป็นการระบุที่กว้างมากซึ่งอาจจะทำให้เกิดช่องโหว่ของข้อกฎหมายได้มากเลยทีเดียว
ในการนำของเสียอันตรายออกจากโรงงานจะต้องมีการขออนุญาต แต่ก็มีช่องทางพิเศษที่เรียกว่า “ออโต้ลายเซ็นต์” หรือการอนุญาตแบบอัตโนมัติ สำหรับบริษัทที่สามารถทำตามข้อกำหนดได้ก็สามารถใช้ช่องทางพิเศษนี้ได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2566 ด้วยการยึดหลัก “ผู้เป็นเจ้าของกากต้องรับผิดชอบจนกว่าจะถูกกำจัดให้ปลอดภัย” แต่ถึงจะแก้กฎหมายใหม่แล้วแต่ก็ยังมีข่าวการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมให้ได้ยินตลอด ทำให้ประชาชนเกิดความไม่ไว้วางใจกับหน่วยงานที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ และมองว่าการแก้ไขล้มเหลว โดยประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ที่ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมนั้นกล่าวว่า “ควรถามความเห็นของประชาชนด้วย”
ปัจจัยที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการลักลอบทิ้งการอุตสาหกรรมอยู่บ่อยครั้งนั่นก็คือค่าใช้จ่ยในการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม โดยขยะอันตราย 1 ตัน ค่าใช้จ่ายในการกำจัดจะเริ่มต้น 4,000 - 150,000 บาท และอาจสูงกว่านี้ เมื่อเทียบกับโทษในการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมที่ปรับไม่เกิน 200,000 บาทและจำคุกไม่เกิน 2 ปี และยังสามารถเปรียบเทียบปรับในราคาที่ต่ำกว่าโทษปรับสูงสุด
จะเห็นได้ว่ากฎหมายในการควบคุมดูและกากของเสียอุตสาหกรรมนั้นก็มีช่องโหว่มากมายเต็มไปหมด จึงทำให้เกิดการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมอยู่ตลอด ภาครัฐควรเร่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อปิดช่องโหว่พวกนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้นหรือไม่ควรมีช่องโหว่เลย
หากมีใครพบเห็นการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมสามารถ แจ้งได้ที่ หน่วยงานท้องถิ่นใกล้บริเวณพื้นที่ที่พบเจอ หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น หรือโทรร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษได้ที่สายด่วนร้องทุกข์ 1650 กด 1 แจ้งเหตุฉุกเฉินด้านสารเคมี กด 2 แจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ กด 3 ให้คำปรึกษาด้านมลพิษ
ที่มา
เผยแพร่เมื่อวันที่
นเวียนคืออะพลังเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงานที่ใช้ไม่หสามารถนำกลับมาใช้ใเนดามธรรมชาติรอบ วทางเลือกที่ถูกนำมาใปัจบัน เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลที่แล้วหมดไป จำพวกน้ำมัน ถ่านหธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมันจนพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ หรือส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาทเกการเปลี่ยนแปล วันมอร์ลิงค์ จำกัด รับกำจัด-------------------------------ต้องการข้อมูลด้านการบริการสิ่งล้บถไที่g : 083-844222
Comments