top of page
YOLO

วิกฤตสภาพอากาศทำให้ ปี2023 มีผู้เสียชีวิตสูงเป็นประวัติการณ์


ภาวะโลกร้อนทำให้คนตายเพิ่มมากขึ้น

วิกฤตสภาพอากาศทำให้ ปี2023 มีผู้เสียชีวิตสูงเป็นประวัติการณ์


ภาวะโลกร้อนในปัจจุทำให้การเสียชีวิตของผู้คนบนโลกที่เกี่ยวข้องกับความร้อน การขาดแคลนอาหาร และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อที่เกิดจากวิกฤตภูมิอากาศ พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์


ในปัจจุบันพื้นที่บนโลกเกือบครึ่งหนึ่งต้องเผชิญกับภัยแล้งรุนแรงอย่างน้อยหนึ่งเดือน โดยรายงานฉบับที่ 9 ของ The Lancet Countdown เผยให้เห็นว่า ผู้คนทั่วโลกเผชิญกับภัยคุกคามต่อสุขภาพที่ไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


“Dr. Marina Romanello” ผู้อำนวยการบริหารของ Lancet Countdown แห่ง University College London ได้ออกมากล่าวเตือนว่า “การสำรวจภัยคุกคามต่อสุขภาพที่ใกล้จะเกิดขึ้นนี้ จะเกิดจากความเฉยเมยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปีนี้ซึ่งจะเผยให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่น่ากังวลที่สุดเท่าที่มีมา”


ปี พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย และการเกิดไฟป่าแบบทำลายล้าง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนทั่วโลก แม้กระทั่งเศรษฐกิจเองก็ไม่พ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 


จากรายงานระบุว่า ในปี 2566 ภัยแล้งรุนแรงที่กินเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ทำให้พื้นที่ 48% ทั่วโลกได้รับผลกระทบ และประชาชนต้องเตรียมรับมือกับอุณหภูมิที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น 50 วัน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อเทียบกับที่คาดไว้หากไม่มีวิกฤตสภาพอากาศ ส่งผลให้ประชาชนอีก 151 ล้านคนต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารปานกลางหรือรุนแรง เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ (สภาวะของร่างกายที่เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน) และอันตรายต่อสุขภาพอื่นๆ


และอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในปี พ.ศ.2566 กลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีพุ่งสูงถึง 167% ซึ่งถ้าหากเทียบกับทศวรรษ 1990 (ค.ศ.1990-1999) ที่ไม่มีวิกฤตสภาพอากาศแบบนี้ ประชากรโลกที่มีอายุมากขึ้นหรือกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อนเพียงแค่ 65% เท่านั้น และการที่อุณหภูมิสูงเช่นนี้ทำให้ชั่วโมงการนอนหลับลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลเสียของสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างมาก


นอกจากนี้ยังทำให้เกิดพายุทรายและฝุ่นละอองจำนวนมาก ผู้ที่สัมผัสกับฝุ่นละอองที่มีความเข้มข้นมาก จะทำให้ความอันตรายเพิ่มขึ้นถึง 31%  ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโรคที่รุนแรง เช่น โรคไข้เลือกออก โรคมาลาเรีย และไวรัสเวสต์ไนล์ จะสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ มากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นนั้นเอง


แต่ถึงกระนั้น “รัฐบาลและบริษัทยังคงลงทุนในเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ทําให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นประวัติการณ์ เกิดการสูญเสียต้นไม้อย่างน่าประหลาดใจ และลดโอกาสการอยู่รอดของผู้คนทั่วโลก” เนื่องจากพบว่า ในปี 2566 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงกว่าปี 2565 ถึง 1.1% และสัดส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบพลังงานโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี


“อันโตนิโอ กูเตอร์เรส” (António Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงเป็นประวัติการณ์กำลังก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสุขภาพของเราอย่างมหาศาล เราต้องแก้ไขความเจ็บป่วยจากการเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปกป้องผู้คนจากสภาพอากาศที่เลวร้าย และยุติการเสพติดเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อสร้างอนาคตที่ยุติธรรม ปลอดภัย และมีสุขภาพดีขึ้นสำหรับทุกคน”


“ดร. จอช ฟอสเตอร์” (Dr.Josh Foster) อาจารย์ด้านสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่คิงส์คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่าแนวโน้ม “ที่น่าตกใจ” ของรายงานดังกล่าวจะ “ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์การเสียชีวิตจำนวนมากในกลุ่มผู้สูงอายุบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากเราตระหนักถึงผลกระทบอันเลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”


ที่มา



1 view

Comments


bottom of page