โลกร้อนทำให้เชื้อไวรัสและเชื้อโรคที่ถูกแช่แข็ง กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยผลการวิจัยล่าสุดพบว่าเลือดของหมีขั้วโลกมีเชื้อแบคทีเรียอันตราย ที่คาดว่าเกิดจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 วารสาร PLOS ONE ที่ถูกเผยแพร่โดย Public Library of Science ได้รายงานผลวิจัยของหมีขั้วโลก โดยระบุว่า เมื่ออากาศที่อาร์กติกอุ่นขึ้น ทำให้หมีขั้วโลกมีความเสี่ยงที่จะติดไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต มากกว่า 30 ปีก่อน
ในการศึกษานักวิจัยได้ตรวจสอบตัวอย่างเลือดของหมีขั้วโลกจากทะเลชุคชี (chukchi sea) ในปี 1987–1994 และใช้เวลาตั้งแต่ ปี 2008 - 2017 ในการศึกษาและวิเคราะห์ตัวอย่างเลือด รวมแล้วใช้เวลาในการศึกษานานถึง 30 ปี
โดยในการเก็บและศึกษาตัวอย่างเลือดของหมีขั้วโลกก็เพื่อตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื่้อโรค 6 ชนิด
แต่ก็ต้องตกตลึงเมื่อพบว่า ในเลือดของหมีขั้วโลกนั้นส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต จำนวน 1 ใน 5
แต่ก็เป็นเรื่องยากที่เราจะทราบว่าหมีขั้วโลกได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ทาง ดร.แคร์รีน (Karyn Rode) นักชีววิทยาสัตว์ป่าจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ กล่าวว่า จากผลการตรวจเลือดของหมีขั้วโลกพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปในระบบนิเวศน์อาร์กติกทั้งหมด
โดยนักวิจัยได้ทำการทดสอบหาเชื้อโรคทั้งหมด 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต ที่มักพบในสัตว์บกเป็นหลัก แต่เคยมีการบันทึกว่าเคยพบในสัตว์ทะเลมาก่อน รวมถึงในสายพันธุ์ที่หมีขั้วโลกมักล่าเป็นอาหารด้วย
จากตัวอย่างเลือด ดร.แคร์รีน (Karyn Rode) เผยว่า พบปรสิตสองชนิดที่ทำให้เกิดโรคทอกโซพลาสโมซิสและนีโอสโปโรซิส แบคทีเรีย 2 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคไข้กระต่ายและโรคบรูเซลโลซิส และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบในสุนัข
“ปกติแล้วหมีขั้วโลกค่อนข้างที่จะแข็งแรงต่อโรคค่อนข้างมาก แต่การที่เราตรวจพบทะเลชุคชี (chukchi sea) เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าทะเลอาร์กติกกำลังมีบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป”
ก็เป็นที่น่ากังวลอย่างมากเพราะภาวะโลกร้อน มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกปี หละคน
ากเป็นเช่นนี้ต่อไปคาดว่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต ที่แข็งตัวอยู่ภายใต้ธารน้ำแข็งอันหนาวเย็น อาจทำให้เกิดการระบาดครั้งยิ่งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งสัตว์แ
ที่มา
Commentaires