top of page
YOLO

เคยรู้สึกไหมทำไมเดือนมกราคมถึงยาวนาน?


มกราคม2568

ปีใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว! เปิดประเดิมกันด้วยที่เดือนมกราคมอันแสนยาวนาน แล้วเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเดือนมกราคมช่างแสนยาวนาน? จนมนุษย์เงินเดือนแทบจะน้ำตาไหลไปตาม ๆ กัน ไม่ใช่แค่คุณที่คิด เพราะเดือนแรกของทุกปีมักเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานของทุกคนเหมือนกัน


หลายคนคงจะอยากให้เดือนมกราคมนั้นผ่านไปแบบเร็ว ๆ เพราะมันช่างแสนยาวนานเหลือเกิน แต่การที่ทุกคนรู้สึกว่าเดือนแรกของปีนั้นยาวนานมันมีเหตุผล! จะมีอะไรบ้าง วันนี้ yologreennews มีคำตอบมาให้


1.มกราคมเป็นเดือนแรกของปี


เดือนที่มี 31 วัน ไม่ได้มีเพียงแค่มกราคมเพียงเดือนเดียว แต่ที่ทุกคนรู้สึกว่ามันยาวนานสาเหตุก็มาจากเป็นการเริ่มต้นปีด้วยเดือนที่มีวันยาวนาน หลังจากที่ทุกคนไปเที่ยวอย่างสนุกสนาน และใช้จ่ายกันอย่างหนักหน่วง ทำให้หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกว่ากว่าจะผ่านไปแต่ละวันมันช่างยาวนานเหลือเกิน


2.เป็นเดือนที่ไม่มีวันหยุดพิเศษ


นอกจากจะเป็นเดือนที่มีจำนวนวันถึง 31 วันแล้ว “มกราคม” ยังเป็นเดือนที่ไม่มีแม้แต่วันหยุดพิเศษ หรือวัน “หยุดนักขัตฤกษ์” ทำให้ต้องเรียน หรือทำงานติดต่อกันหลายวันโดยไม่มีวันหยุดพักผ่อน จึงทำหลายคนรู้สึกว่าเดือนนี้ยาวนานมากเป็นพิเศษ


3.สภาพอากาศและบรรยากาศ


เดือนมกราคมนั้นยังมีอากาศที่เย็นสบาย การตื่นนอนในอากาศที่เย็นสบายน่านอนเช่นนี้ช่างยากลำบากเหลือเกิน ทำให้หลาย ๆ คน ขี้เกียจตื่นไปทำงานหรือไปเรียน ส่งผลให้เวลาผ่านไปช้ากว่าเดิม


4.“โดพามีน” (Dopamine) ในสมองหลั่งออกมาน้อยกว่า 2 เดือนก่อนหน้า


ความรู้สึกที่เดือนมกราคมยาวนานเป็นพิเศษนั้น มีหลายคนสงสัยถึงขั้นนักวิทยาศาสตร์ต้องทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบกันเลยทีเดียว ซึ่งผลวิจัยก็พบว่าหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้รู้สึกว่าเดือนมกราคมนานกว่าเดือนอื่น ๆ คือ “โดพามีน” (Dopamine) หรือสารสื่อประสาทจะหลั่งออกมาเวลาที่เกิดความรู้สึกสุข สบายใจ หรือตื่นเต้น ทำให้นาฬิกาสมองเดินเร็วขึ้น แต่ในทางกลับกันหากเรารู้สึกเบื่อหน่าย และไม่มีความสุข “โดพามีน” (Dopamine) จะหลั่งออกมาน้อย นาฬิกสาสมองก็จะเดินช้าลง 


จากงานวิจัยระบุไว้ว่าเดือนมกราคมจะเป็นช่วงเวลาที่มีการหลั่งโดพามีนออกมาน้อยกว่า 2 เดือนก่อนหน้า คือเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม ที่มีกิจกรรมสนุกสนาน และมีวันหยุดเยอะมาก พอมาถึงเดือนมกราคมที่ต้องกลับมาสู่ภาวะปกติที่ทุกคนต้องไปเรียน หรือไปทำงานนั้นจึงทำให้ความรู้สึกสนุกน้อยลง ความเบื่อหน่ายเพิ่มมากขึ้น  “โดพามีน” (Dopamine) ในสมองก็ลดน้อยลง



ที่มา


1 view

Comments


bottom of page