top of page
YOLO

เยอรมนีทุ่มงบกว่า 3,000 ล้านดอลล่าร์! สนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอน


เยอรมนีทุ่มงบลดการปล่อยคาร์บอน

เยอรมนีทุ่มงบกว่า 3,000 ล้านดอลล่าร์! สนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอน


ปัญหาของภาวะโลกร้อนและการลดการปล่อยคาร์บอนนั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเร่งดำเนินการแก้ไข หนึ่งในประเทศที่เร่งดำเนินการแก้ไขนั้นก็คือ “เยอรมนี” ที่จัดสรรงบประมาณสูงถึง 3,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนโครงการลดการปล่อยคาร์บอน


เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาทางด้านกระทรวงเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมนีได้ออกมาเปิดเผยว่าได้จัดสรรงบประมาณสูงถึง 2.8 พันล้านยูโร (3.1 พันล้านดอลลาร์) หรือประมาณ 1 แสนล้านบาทไทย เพื่อสนับสนุนบริษัทอุตสาหกรรม 15 แห่งในโครงการลดการปล่อยคาร์บอนภายใต้ “สัญญาปกป้องสภาพภูมิอากาศ” (Climate protection contracts) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของเยอรมนีที่จะเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศในปี 2045 ซึ่งทางเบอร์ลินจะมอบเงินในการสนับสนุนให้กับบริษัทต่าง ๆ เป็นเวลา 15 ปี เพื่อแลกกับการลดการปล่อยคาร์บอนในการผลิต


ซึ่งคาดว่า 15 โครงการนี้ จะช่วยลดการปล่อยกีาซคาร์บอนได้ 17 ล้านเมตริกตัน ตลอดเวลาระยะสัญญา โดยทางนักวิจารณ์กล่าวว่าเงินสนับสนุนนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เนื่องจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเยอรมนีได้เพียงเล็กน้อย และจะสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมาก ซึ่งเหมาะกับประเทศที่ราคาพลังงานต่ำ


เบอร์ลินกล่าวว่าเงินสนับสนุนเหล่านี้เป็นเพียงเส้นเลือดใหญ่ชั่วคราวให้กับอุตสาหกรรมบางประเภทเท่านั้นจนกว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นจนทำให้ราคาพลังงานปกติลดลง


“โรเบิร์ต ฮาเบ็ค” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจกล่าวในแถงการณ์ว่า “เยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศแรกที่จะดำเนินการตามสัญญาการปกป้องสภาพอากาศ (Climate protection contracts) ทำให้เราเป็นผู้นำในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม”


กระทรวงเศรษฐกิจกล่าวว่า “สัญญาหล่านี้รวมถึงกลไกการจัดหาเงินทุนที่ยืดหยุ่นซึ่งปรับตามการเปลี่ยนแปลงของราคาพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ และทางกระทรวงเศรษฐกิจได้กล่าวเพิ่มเติมว่า คาดว่าจะจ่ายเงินสนับสนุนน้อยกว่าเงินสูงสุดที่จัดสรรไว้” เดิมทีเบอร์ลินวางแผนที่จะเสนอเงินสนับสนุนสูงสุดถึงหลักหลายหมื่นล้านยูโร แต่โครงการดังกล่าวเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกเนื่องจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปีที่แล้ว สั่งห้ามรัฐบาลใช้หนี้ 60,000 ล้านยูโรสำหรับโครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศ



ที่มา


1 view

Commentaires


bottom of page