โลกผลิตขยะพลาสติกปีละ 57 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากแอฟริกาและอาเซียน
สถานการณ์พลาสติกของโลกในตอนนี้เป็นที่น่ากังวล จากรายงานล่าสุดพบว่าโลกสร้างมลพิษพลาสติก 57 ล้านตันในแต่ละปี และแพร่กระจายจากมหาสมุทรที่ลึกที่สุดไปยังยอดเขาที่สูงที่สุด และเข้าสู่ร่างกายของผู้คน โดยพลาสติก 2 ใน 3 มาจากประเทศที่กำลังพัฒนา
ทางมหาวิทยาลัยลีดส์ ในสหราชอาณาจักร ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่ามลพิษในแต่ละปี เพียงพอที่จะทำให้สวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์คในเมืองนิวยอร์ก เต็มไปด้วยขยะพลาสติกที่สูงเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท โดยนักวิจัยได้ศึกษาขยะที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นในเมือง และเทศบาลมากกว่า 50,000 แห่งทั่วโลก และได้เผยแพร่ในวารสาร “Nature” เมื่อวันพุธที่ 4 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ตรวจสอบพลาสติกที่ถูกทิ้งลงในสภาพแวดล้อมที่เปิดโล่ง ไม่ใช่พลาสติกที่ทิ้งลงหลุมฝังกลบหรือถูกเผาอย่างถูกต้อง ผู้เขียนงานวิจัยนี้ระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถรวบรวมและกำจัดขยะได้สำหรับประชากรโลกถึง 15% ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาใต้สะฮาราผลิตขยะพลาสติกมากที่สุด โดยรวมถึงประชากรอินเดียกว่า 255 ล้านคนด้วย
เมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย มีการปล่อยมลพิษจากพลาสิกมากที่สุดในบรรดาเมืองทั้งหมด จากรายงานของคอสตาส เวกัส ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากลีดส์ ผู้ที่เขียนผลการศึกษา เมืองที่ปล่อยมลพิษจากพลาสติกมากที่สุดอีกสองเมือง คือ นิวเดลี ลูอันดา ประเทศแองโกลา การาจี ประเทศปากีสถาน และอัลกาฮิราห์ ประเทศอียิปต์
ประเทศอินเดียเป็นผู้นำโลกในการก่อให้เกิดมลพิษจากพลาสติก โดยมีการผลิตอยู่ที่ 10.2 ล้านตันต่อปี หรือ 9.3 ล้านเมตริกตัน ซึ่งมากกว่าประเทศที่ก่อมลพิษเป็นอันดับสองอย่างไนจีเรียและอินโดนีเซียถึงสองเท่า ส่วนจีนอยู่อันดับที่สี่ และมีความก้าวหน้าในการลดขยะอย่างมาก เวนิสกล่าวว่าประเทศที่ปล่อยมลพิษจากพลาสติกมากที่สุดอีกสองประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน บังกลาเทศ รัสเซีย และบราซิล แต่จากการศึกษาพบว่า 8 ประเทศนี้มีส่วนรับผิดชอบต่อมลพิษจากพลาสติกมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ในขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่อันดับที่ 90 ของโลกในด้านมลพิษจากพลาสติก ซึ่งมีปริมาณขยะพลาสติกมากกว่า 52,500 ตัน และสหราชอาณาจักรอยู่ที่อันดับ 135 ของโลกโดยมีปริมาณเกือบ 5,100 ตัน
ปี 2565 ที่ผ่านมานี้ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่ตกลงที่จะจัดทำสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับมลพิษจากพลาสติกโดยรวมถึงในมหาสมุทร ซึ่งการเจรจาเรื่องข้อตกลงฉบับสุดท้ายจะเกิดขึ้นที่เกาหลีใต้ ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้
การศึกษาในครั้งนี้ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อมุ่งเน้นไปที่พลาสติกที่ถูกเผาอย่างไม่ถูกต้อง และถูกทิ้งซึ่งคิดเป็น 57% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทั้ง 2 กรณีนี้ไมโครพลาสติกที่ขนาดเล็กมาก หรือที่เรียกว่านาโนพลาสติก คือผลที่เปลี่ยนจากความรำคาญทางสายตาที่ชายหาด และปัญหากับสัตว์ทะเล โดยเปลี่ยนมาเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของนุษย์
จากงานวิจัยหลายชิ้น ได้มีการศึกษาว่า ไมโครพลาสติกมีการปนเปื้อนในน้ำดื่มและเนื้อเยื่่อของมนุษย์มากมายขนาดไหน ซึ่งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจว่าไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์อย่างไร
ทางเวลิส (Velis) กล่าวว่า “ระเบิดเวลาขนาดใหญ่ของไมโครพลาสติก คือ ไมโครพลาสติกที่ถูกปล่อยออกมาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยส่วนใหญ่” เขากล่าวอีกว่า “เรามีปัญหาด้านการแพร่กระจายครั้งใหญ่แล้ว โดยไมโครพลาสติกเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่สุด เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ ในร่องลึกก้นมหาสมุทรมาเรียนนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก อากาศที่หายใจ สิ่งที่มนุษย์กินและดื่ม”
องค์การสหประชาชาติ (UN) คาดว่า การผลิตพลาสติกอาจเพิ่มขึ้นจาก 440 ล้านตัน เป็นมากกว่า 1,200 ล้านตัน โดยระบุว่า “โลกของเรากำลังจมอยู่กับพลาสติก”
ที่มา
เผยแพร่เมื่อวันที่
Comments