top of page
YOLO

ในอีก 10 ปีข้างหน้า โลกจะไม่สามารถรับมือกับปริมาณขยะพลาสติกได้


ขยะพลาสติก

นับวันขยะพลาสติกก็ยิ่งมีปริมาณมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก หากทั่วโลกไม่เร่งดำเนินการในอีก 10 ปีข้างหน้าโลกจะไม่สามารถรับมือกับปริมาณพลาสติกจำนวนมหาศาลได้เลย


ก่อนเจรจารอบสุดท้าย แอนน์ บีเธ ทวินเนอไรม์ รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศของนอร์เวย์ ได้กล่าวก่อนการประชุมรอบสุดท้ายเกี่ยวกับสนธิสัญญาโลกฉบับแรกเพื่อยุติขยะพลาสติก ที่จัดขึ้น ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ โดยเธอกล่าวถึงความแตกแยกที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศผู้ผลิตพลาสติกกับประเทศอื่นๆ ซึ่งเธอก็เป็นตัวแทนของ 60 ประเทศที่ผลักดันสนธิสัญญาว่าด้วยพลาสติกระดับโลก ที่นำโดยประเทศรวันดา และนอร์เวย์ ซึ่งต้องการให้้แก้ไขปัญหามลพิษของพลาสติกตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก และที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือการจำกัดการผลิตพลาสติกอย่างเข้มงวด

 

แต่ถึงแม้ว่า “สนธิสัญญาที่สมบูรณ์แบบ”อาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้คัดค้านอย่างหนัก โดยเฉพาะจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่เธอก็หวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงและสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้นในอนาคตได้


“เราคงไม่สามารถบรรลุสนธิสัญญาที่สมบูรณ์แบบได้ แต่เราต้องก้าวต่อไปและผมคิดว่าเราจะทำได้ ผมเลือกที่จะมีความหวัง” ทวินเนอไรม์กล่าว “ด้วยประเทศพันธมิตรที่มีความต้องการที่จะผลักดันสนธิสัญญาว่าด้วยพลาสติกระดับโลก เราจะยังคงแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ที่ยึดมั่นในการผลักดันของตนเอง โลกต้องการผู้นำและข่าวดีอย่างยิ่งในตอนนี้”


ในปีนี้นักวิจัยหลายคนพบไมโคพลาสติกในตัวอย่างรกทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ในหลอดเลือดแดงของมนุษย์ ซึ่งไมดครพลาสติกเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ในอัณฑะและน้ำอสุจิของมนุษย์ ซึ่งก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของพลาสติกและความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงขอสุขภาพ วิกฤตพลาสติกนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพภูมิอากาศ 


สองปีหลังจากที่ 175 ประเทศบรรลุข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ในการรับรองอำนาจหน้าที่สำหรับการเจรจาเพื่อสนธิสัญญาระดับโลกที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในการจัดการวงจรชีวิตของพลาสติกทั้งหมด ผู้แทนแต่ละประเทศนั้นก็ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับแนวทางที่ควรดำเนินการ และเส้นตายก็กำลังใกล้เข้ามา ทำให้ความคืบหน้าได้หยุดชะงักลงเนื่องจากความขัดแย้งเกี่ยวกับความจำเป็นในการลดขนาดอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีมูลค่ามากถึง 712 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการเจรจาครั้งล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้นล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการผลิต ซึ่งถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในการลดปริมาณขยะพลาสติก ให้อยู่ในแกนกลางของสนธิสัญญา. โดยการเจราจาของสนธิสัญญานี้จะสิ้นสุดในวันที่ 1 ธันวาคม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ 


ทาง แอนน์ บีเธ ทวินเนอไรม์ ได้กล่าวว่า “แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องรีไซเคิลและจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น แต่หากเราไม่ลดการผลิตและการบริโภค เราก็จะไม่สามารถรับมือกับปริมาณพลาสติกในระบบในอีก 10 ปีข้างหน้าได้”


การใช้พลาสติกทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 2060 โดยคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดในแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชีย นอกจากนี้คาดว่าขยะพลาสติกจะเพิ่มเป็นสามเท่าภายในปี 2060 โดยครึ่งหนึ่งถูกฝังกลบ และน้อยกว่าหนึ่งในห้าถูกนำไปรีไซเคิล


การเจรจาที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งนี้ทำให้เห็นถึงมุมมองที่มีความแตกต่างกัน โดยประเทศที่มีอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ เช่น ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย และอิหร่าน ซึ่งถูกเรียกว่า “กลุ่มที่มีแนวคิดเหมือนกัน” ได้หลีกเลี่ยงการลดการผลิตพลาสติก และเน้นย้ำการจัดการขยะว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาหลักของวิกฤตนี้ ในขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต้องแบกรับผลกระทบจากการผลิตพลาสติกเกินขนาดจนเกินขีดความสามารถของระบบจัดการขยะที่ไม่เพียงพอ กำลังเรียกร้องให้มีการลดการผลิตในระดับโลก.


แต่ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นระหว่างการเจรจานั้นกลับทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากจุดยืนของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ที่สุด สหรัฐฯเพิ่งส่งสัญญาณว่าจะสนับสนุนสนธิสัญญาที่เรียกร้องให้ลดการผลิตลง แต่การที่โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล จะกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนมกราคมนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยอีกครั้ง

ผู้เจรจาจากประเทศหนึ่งที่ผลักดันสนธิสัญญาว่าด้วยพลาสติกระดับโลกกล่าวว่า “หากเราสามารถเห็นจีนก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เหมือนที่เราเคยเห็นพวกเขาทำในเวทีอื่นๆ และภายในประเทศของพวกเขาเอง เราก็มีโอกาสที่ดีในการสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ หากไม่เป็นเช่นนั้น มันจะเป็นเรื่องยากมาก”


ที่มา


1 view

Comments


bottom of page