top of page
YOLO

UNICEF เผยภายในปี 2050 เด็ก ๆ จะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า!


อนาคตเด็กได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน

UNICEF เผยภายในปี 2050 เด็ก ๆ จะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า!


วิกฤตสภาพอากาศเพิ่มความรุนแรงจากอดีตมากขึ้นทุกวัน หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขและป้องกัน ผู้คนจำนวนมากจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติอย่างร้ายแรง เด็กทั่วโลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่าในปี 2050


จากรายงาน State of the World's Children หรือรายงานสถานะเด็กประจำปีของโลก ได้ระบุไว้ว่า คาดว่าเด็ก ๆ จำนวนเกือบสองเท่าจะต้องเผชิญกับไฟป่า และอีกหลายคนจะต้องเผชิญกับภัยแล้งและพายุไซโคลนเขตร้อน


ในระดับโลกนั้นเด็กจำนวนมากจะต้องพบกับวิกฤตทางสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงในปี 2050 ซึ่งความรุนแรงก็จะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยภูมิภาคที่คาดว่าเด็กจะได้เจอกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้นสูงสุดจะอยู่ในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้  แปซิฟิก ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันตก และแอฟริกากลาง นอกจากนี้ เด็กในพื้นที่เดียวกัน รวมถึงแอฟริกาตะวันออกและแปซิฟิก ยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแม่น้ำมากขึ้นด้วย


รายงานที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันเด็กโลก มีการคาดการณ์ว่าวิกฤตสภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางประชากร (ในปี 2050 คาดว่าจะมีประชากรเด็กในทวีป แอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้มากที่สุด) เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จะส่งผลต่อชีวิตต่อเด็ก ๆ อย่างไร? แต่จากรายงานก็ได้มีการระบุไว้ว่าเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะก่อให้เกิดทั้งโทษและประโยชน์กับเด็ก ๆ ซึ่งในปัจจุบันพวกเขาได้มีปฏิสัมพันธ์กับ AI ที่ฝังตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน เกม และซอฟต์แวร์การเรียนรู้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลยังคงมีอยู่ชัดเจน ในปี 2024 ประชากรราว 95% ในประเทศที่มีรายได้สูงจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เมื่อเทียบกับประชากรเพียงประมาณ 25% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ


“แคทเธอรีน รัสเซลล์” ผู้อำนวยการบริหารของยูนิเซฟกล่าวว่า “เด็กๆ กำลังเผชิญกับวิกฤตมากมาย ตั้งแต่วิกฤตสภาพอากาศแปรปรวนไปจนถึงอันตรายจากอินเทอร์เน็ต และวิกฤตเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า” และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “การตัดสินใจที่ผู้นำโลกทำในวันนี้ หรือล้มเหลวในการตัดสินใจนั้น จะเป็นตัวกำหนดโลกที่เด็กๆ จะได้รับสืบทอดต่อไป ความก้าวหน้าหลายทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กผู้หญิง กำลังตกอยู่ในอันตราย”


โดยรายงานฉบับนี้เน้นไปที่ผลกระทบต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่มีต่อเด็ก ๆ เป็นหลัก โดยเกือบครึ่งหนึ่งของเด็ก ๆ (ประมาณ 1 พันล้านคน) อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม วิกฤตสภาพภูมิอากาศอาจทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นก็จะส่งผลให้มีปริมาณยุงเพิ่มมากขึ้น โรคต่าง ๆ ที่ยุงเป็นพาหนะเช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก ซิกา และไวรัสเวสต์ไนล์ก็จะมากขึ้น นอกจากโรคภัยไข้เจ็บจะมากขึ้นแล้ว ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน 


การเปลี่ยนแปลงของโลกมีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ภัยพิบัติและโรคระบาดต่าง ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น หากเรายังเพิกเฉยไม่เตรียมการรับมือกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ อาจเกิดการสูญเสียที่เราอาจคาดไม่ถึง


ที่มา


2 views

Comments


bottom of page