จากที่ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในหรือก่อนปี พ.ศ. 2608 ซึ่งคาดว่าหากได้รับการสนับสนุน ทางด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญา ฯ ที่เหมาะสม ประเทศไทยจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ NDC 40% ภายในปี พ.ศ.2573 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ. 2593 ดังนั้นวันนี้เราจะมาพาทุกคนมารู้จักกับความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net - Zero GHG Emission) ว่าคืออะไร แล้วแตกต่างกันอย่างไร?
ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) คืออะไร?
Carbon Neutrality หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ โดยในการลดคาร์บอนนั้นจะเริ่มจากการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้นทาง เช่น ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพราะในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไปก็ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลักในการให้พลังงาน อีกหนึ่งวิธีที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนั่นก็คือ Carbon Credit
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร?
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ สินค้าจากอุตสาหกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาจากโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า โดยจะนำมาแปลงเป้นคาร์บอนเครดิต แล้วนำมาขายให้กับบริษัทหรือหน่วยงานที่รับซื้อคาร์บอนเครดิต หากบริษัทหรือหน่วยงานใดที่ซื้อคาร์บอนเครดิตไปจะสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้นนั่นเอง (แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่รัฐกำหนด) ในปัจจุบันเราจึงเห็นอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญกับ “คาร์บอนเครดิต” กันมากขึ้น โดยหน่วยงานที่จะคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตและออกใบรับรองให้นั่นก็คือ อบก. หรือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ตอนนี้ราคาซื้อขายคาร์บอน
เครดิตอยู่ที่ประมาณ 15 - 200 บาทต่อตันคารืบอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในตอนนี้ตลาดคาร์บอนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.แบบภาคบังคับ: หน่วยงานรัฐกำหนดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีการติดตั้งหรือกำหนดกฎหมายที่กำกับอย่างชัดเจน
2.แบบการสมัครใจ: ส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในตลาดกลุ่มนี้เป็นหลัก เพราะอุตสาหกรรมจะไม่ถูกเคร่งเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตมากนัก ตอนนี้ก็เหมือนกับการสมัครใจที่จะทำ หากอุตสาหกรรมใดอยากทำก็ได้ แต่หากทำแล้วก็จะได้เปรียบกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ
จากวิธีการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality เร็วยิ่งขึ้น หากทำได้เร็วสิ่งแวดล้อมในโลกของเราก็จะอยู่กับเราได้นานมากขึ้น
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net - Zero GHG Emission) คืออะไร?
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net - Zero GHG Emissions มันก็คือการที่เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์นั่นเอง การที่จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยนั้นต้องมีความสมดุลกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ที่ชั้นบรรยากาศของโลก กล่าวง่าย ๆ คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อย เมื่อนำไปหักลบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ในชั้นบรรยากาศนั้นจะต้องเป็น “ศูนย์” มันก็คือการชดเชย แต่ไม่ได้หยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แล้วสิ่งที่แตกต่างของความเป็นกลางทางคาร์บอน กับ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิคืออะไร?
ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality): เป็นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากแหล่งกิจกรรมของมนุษย์ กับการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากป่าไม้ ทคโนโลยีดักจับ และกักเก็บคาร์บอน โดยมีเป้าหมายภายในปี พ.ศ. 2593
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net - Zero GHG Emission): เป็นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด จากแหล่งกำเนิดกิจกรรมของมนุษย์กับการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากป่าไม้ เทคโนโลยีดักจับ และกักเก็บคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2608
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกนั้นเป็นาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงในปัจจุบัน แน่นอนว่าทั้ง 2 อย่างนี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นก็คือ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ: ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 2 อย่างนี้ก็มีเป้าหมายเหมือนกันนั้นก็คือ อยากให้โลกดีขึ้น และอยากให้สิ่งแวดล้อมอยู่กับเราไปนาน ๆ แต่การดูแลสิ่งแวดล้อมนี้ทุกคนต้องร่วมมือกันไม่ใช่ผลักภาระให้คนใดคนหนึ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคน
ที่มา
เผยแพร่เมื่อวันที่
วียนคืออะพลังนหมุนเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงานที่ใสามารถนำกลับมาเนามธรรมชาติรอบ ๆวทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบเพื่อทดแทนพลังเฟซิล หรพจำพวกน้ำมัน ถ่านหธรรมชาติ หินน้ำและทรายน้ำมันจนพสะอาด ไม่มลพหรือส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยกำจัด----------------------ต้ข้อด้านบริการสิ่งลไที: 0844222
留言