เรือสินค้าขนตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ บรรทุกของที่คาดว่าเป็นขยะอันตรายประมาณ 327 ตัน โดยเรือที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์พวกนี้ มีชื่อว่า “เมอร์สก์ แคมป์ตัน” (MAERSK CAMPTION) ซึ่งมีกำหนดการในการเข้าเทียบท่าที่ประเทศแอฟริกาใต้ เรือที่คาดว่าจะขนส่งขยะอันตรายนั้นมีทั้งหมด 2 ลำ แต่เรือที่ถูกพบเจอนั้นเป็นเรือลำแรก ต้นทางมาจากแอลเบเนียมายังปลายทางคือประเทศไทย โดยสัญญานของเรือเมอร์สก์ แคมป์ตัน ได้หายไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และไม่มาเทียบท่าเรือตามที่กำหนดและหายไป คาดว่าจะมาถึงไทยวันที่ 20 สิงหาคมนี้
องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรหรือ NGO ของด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 แห่ง ประกอบไปด้วย
1.เครื่อข่าย Basel Action Network (BAN) สหรัฐอเมริกา
2.องค์กร Friends of the Earth แอฟฟริกาใต้
3.มูลนิธิบูรณะนิเวศ หรือ EARTH ประเทศไทย
ออกมาเรียกร้องให้ทางการหลายประเทศสกัดจับเรือสินค้า 2 ลำต้นทางจากแอลเบเนียมายังปลายทางคือประเทศไทย ซึ่งมีการขนส่งขยะอันตรายที่เป็นพิษจำนวน 816 ตัน
ทาง NGO ทั้ง 3 แห่งได้ออกมาให้แถลงข่าวว่า “เราไม่สามารถจินตนาการถึงเหตุผลสำหรับพฤติกรรมนี้ นอกจากนี้การที่ “เมอร์สก์ แคมป์ตัน” หลบหนีจากการจับกุมอาจเป็นไปได้ว่าของที่ได้บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของเสียอันตราย”
ตามอนุสัญญา SOLAS ซึ่งเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล เรือขนส่งสินค้าควรที่จะต้องเปิดสัญญาน AIS ตลอดทั้งการเดินเรือ หากกัปตันเรือเกิดอันตรายอนุญาตให้ปิดสัญญานนี้ได้ การที่จนส่งของเสียอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตหรืออนุมัติจากประเทศผู้ส่งออก (แอลเบีเนีย) ประเทศผ่านแดนหรือประเทศที่จะต้องมีการจอดและพัก (แอฟฟริกาใต้) และประเทศผู้นำเข้าตามกำหนดการอย่างประเทศไทย ถือเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย ทาง NGO จึงได้ไปตรวจสอบแล้วพบว่า ทั้ง 3 ประเทศไม่เคยได้รับแจ้งเกี่ยวกับการขนส่งขยะอันตรายชนิดนี้เลย
จากการแถลงข่าวที่ผ่านมาก็ยังไม่พบเรือ “เมอร์สก์ แคมป์ตัน” ลำแรกว่าอยู่ที่ไหนแต่คาดว่าเดินทางไปอยู่จุดแวะพักตามกำหนด แต่การที่เราหาเรือไม่พบทำให้มีความกังวลอย่างมาก เพราะเรืออาจสามารถไปได้ทุกภูมิภาค ส่วนเรือลำที่สองนั้นได้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 60 ตู้ ที่ภายในมีของเสีย คาดว่าจะโคจรรอบแอฟริกาไปยังประเทศไทยภายในไม่กี่ชั่วโมง ทาง NGO ทั้ง 3 แห่งนั้น จึงได้ออกมาเรียกร้องให้แอฟริกาใต้ยึด เรือ “MAERSK CANDOR” ซึ่งเป็นเรือลำที่สองไว้ โดยที่จะส่งสัญญานเตือนทั่วเอเชีใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสกัดกั้นเรือทั้ง 2 ลำนี้ไว้ แล้วส่งคืนไปยังต้นทางนั่นก็คือแอลเบเนีย โดยคาดว่าปริมาณของเสียทั้งหมด 816 ตันนั้นเป็นฝุ่นเตาเหล็กพิษที่รวบรวมมาจากตัวกรองที่ควบคุมมลพิษ
หากตรวจสอบและพบว่าเป็นของเสียอันตรายจริงตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้จะถูกยึดแล้วส่งกลับไปยังแอลเบเนีย ตามอนุสัญญาบาเซิล (Basel Convention) สนธิสัญญาสหประชาชาติที่ควบคุมการค้าของเสียอันตรายและของเสียอื่น ๆ
ในขณะเดียวกัน มูลนิธิบูรณะนิเวศ หรือ EARTH ซึ่งเป็น NGO ในประเทศไทยได้แจ้งให้รัฐบาลทราบถึงการขนของเสียอันตรายมายังประเทศไทยแล้ว และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและแอฟริกาใต้ดำเนินการหยุดการค้าที่ผิดกฎหมายนี้ เพราะถ้าหากไม่เร่งดำเนินการ เกรงว่าฝุ่นกรองที่เป็นพิษจะกระจายบนพื้นที่เกษตรกรรมหรือทิ้งไว้ใประเทศไทย
ทางด้านบริษัทเมอร์สก์ก็ได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 257 ที่ผ่านมาว่า ข้อกล่าวหาของ NGO นั้นเป็นเท็จ เพราะเรือได้ผ่านการตรวจสอบจากกรมศุลกากรแล้ว และเรือไม่ได้จอดเทียบท่าที่ประเทศแอลเบเนียและไม่ได้เดินทางไปยังประเทศไทย แต่ทางบริษัทก็จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ ในทางด้านของประเทศไทยนั้น ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้แจ้งไปยังอธิบดีกรมควบคุมมลพิษแล้ว และได้ให้ประสานงานกับกรมศุลกากรเพื่อตรวจสอบ ซึ่งทางปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่แล้วว่า ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้แจ้งไปยังท่าเรือสิงคโปร์ว่าประเทศไทยไม่อนุญาตให้นำเข้า “ฝุ่นแดง” ซึ่งตอนนี้เรืออยู่ในน่านน้ำสิงคโปร์
หากประเทศไทยไม่เฝ้าระวังและจัดการกับปัญหานี้ไปให้สิ้นซาก ในอนาคตเราอาจจะกลายเป็นถังขยะชั้นดีให้กับของเสียจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
ที่มา
เผยแพร่วันที่
นคือพลังนหมุนเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหามธรรมชาติรอบ ๆ ตั
วทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเฟอสหพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป จำพวกน้ำมัน ถ่านหธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมจนพลสะอาด ไม่มลพิษ หรือส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปล วันมอร์ลิจำกัด รับกำจัด--------------ต้องการข้อมูลด้านการบริการสิ่งแวดล้บถไที่g : 8442
Comments