top of page
  • YOLO

“สนธิสัญญาพลาสติกโลกกำลังมา” ประเทศไทยพร้อมหรือยัง


สนธิสัญญาพลาสติกโลกกำลังมา ประเทศไทยพร้อมหรือยัง


พลาสติกสำคัญเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อย่างรุนแรง พลาสติกเป็นต้นตอที่ทำให้เกิด “ไมโครพลาสติก” และปัจจุบันนั้นไมโครพลาสติกนั้นก็ได้มาอยู่ในห่วงโซ่อาหารและร่างกายของมนุษย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แล้วสนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global Plastic Treaty) จะช่วยเราจากมลพิษที่เกิดจากพลาสติกอย่างไร?


สนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global Plastic Treaty) คืออะไร?


สนธิสัญญาพลาสติกโลกคือมาตรการด้านมลพิษจากพลาสติกรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นความหวังที่จะนำไปสู่การยุติมลพิษพลาสติก  โดยสนธิสัญญาพลาสติกโลกนั้นจะครอบคลุม “วงจรชีวิตของพลาสติก” 


การกำเนิดหรือที่มาของสนธิสัญญาพลาสติกโลก


ในปี 2565 มีการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEA) ผู้นำจากทั่วทุกมุมโลกได้มีมติสมัชชาสิ่งแวดล้อมที่ 5/14 กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Negotiating Committee: INC) โดยมีภารกิจจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายที่ว่ามลพิษพลาสติกและสิ่งแวดล้อมในทะเล โดยที่จะต้องครอบคลุมวงจรชีวิตของพลาสติกอย่างที่กล่าวไปข้างต้น และหลังจากนั้นการประชุมของ INC นั้นก็ได้มีการกล่าวถึง “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” โดยตั้งเป้าว่าสนธิสัญญาฉบับนี้จะได้ข้อสรุปภายในปี 2567 ในปัจจุบันมีร่างสรธิสัญญาฉบับศูนย์ปรับปรุง (Revised Zero Draft) ที่มาจากการประชุมครั้งที่ 3 ของ INC และในการประชุมครั้งที่ 4 ได้จัดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ณ ประเทศแคนาดา คาดว่า ในปี 2568 จะเปิดให้มีการลงนาม


แล้วประเทศไทยมีปัญหาพลาสติกอย่างไร?


ปัจจุบันพลาสติกส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นแบบใช้ครั้งเดียว (Single Use Plasitic) โดยที่ไม่มีการนำกลับมาใช้ใหม่และท้ายที่สุดก็จะถูกทิ้งเป็นขยะมูลฝอย และในงานวิจัยของ ลอเรนส์ เจ.เจ. ไมเยอร์ ยังพบว่าประเทศไทยนั้นติด Top10 ประเทศที่มีขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเลอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยก็เคยใช้นโยบายและมาตรการเพื่อที่จะลดพลาสติกแต่มันก็เป็นระบบสมัครใจไม่ได้ทำให้เป็นกฎหมายจึงทำให้ปัญหาพลาสติกในประเทศไทยนั้นยังไม่หมดไป พวกซองขนม หรือซองซอสต่าง ๆ ที่รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นพลาสติกก็ยังไม่มีทางออกที่คุ้มค่า และระบบการนำกลับมารีไซเคิลก็ยังมีปัญหาอยู่ นอกจากนี้ในประเทศไทยมีการแบนพลาสติก 7 ชนิด แต่มันก็ไม่ได้มีกฎหมายรองรับแต่เป็นการขอร้องให้เลิกใช้ เลิกผลิต ซึ่งในภาคธุรกิจนั้นมันทำไม่ได้อยู่แล้ว จึงทำให้ภาคธุริกิจจึงมีการใช้พลาสติกและผลิตพลาสติกในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นในปี 2565 ทางประเทศไทยบอกว่าจะงดการใช้พลาสติก 100 % แต่ในปี 2565-2566 กลับพบว่ามีขยะพลาสติก ประมาณ 1.2 ล้านตัน/ปี โดยกระจายอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย เหตุการณ์ใน 2 ปีที่ผ่านมานั้นทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาพลาสติกอยู่ตลอดและยังแก้ปัญหาไม่ได้เสียที


แล้วประเทศไทยพร้อมกับ “สนธิสัญญาพลาสติกโลก”แล้วหรือยัง?


ต้องบอกตามตรงว่ากฎหมายในประเทศไทยยังไม่พร้อมกับสนธิสัญญาพลาสติกโลก เพราะปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะในประเทศไทยเน้นแค่ปลายทาง แต่ยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมถึงการผลิต และในการจัดการขยะของบ้านเราเราทิ้งภาระให้กับทางท้องถิ่นหนักมากและก็ยังไม่ได้มีกฎหมายใช้จะช่วยทางท้องถิ่นจัดการกับปัญหาขยะเหล่านี้ ถึงแม้ทางท้องถิ่นจะเก็บค่าขยะในทุก ๆ เดือนหรือบางที่อาจจะทุกปีนั้นก็ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาขยะเหล่านี้ได้ และจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังไม่พร้อมกับ “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” ในเร็ว ๆ นี้ อาจจะต้องใช้เวลาสักพักจึงจะสามารถปรับตัวและปฏิบัติตามสนธิสัญญาฉบับนี้ได้


ที่มา



เผยแพร่เมื่อวันที่


สน..นเวียน..คืลังนหมุนเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงานที่ใช้หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ไดามธรรมชาติรวทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานทีจำพวกน้ำธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน จนพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ หรือส่งกระสิ่งแวเนื่องทำให้การเปลี่จำกัด รับกำจัด-------------------------------ต้องการข้อมูลด้านการบรไที่g083-844

ดู 1 ครั้ง

Comments


bottom of page