ปัจจุบันธุรกิจหรืออุตสาหกรรมทั่วโลก ได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกับวิถีชีวิต และเศรษฐกิจอีกด้วย จึงทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีการออกนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” โดยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) นั้นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
กลไลที่หลายประเทศหยิบยกมาใช้และกำลังเป็นกระแสในตอนนี้นั่นก็คือการเก็บ “ภาษีคาร์บอน” หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “Carbon Tax” ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศและเป็นตัวช่วยให้หลาย ๆ ประเทศบรรลุเป้าหมาย “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” หรือ “Net Zero” นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอมเริกา รวมไปถึงสิงคโปร์ ที่เป็นสมาชิกในอาเซียนก็ได้มีการบังคับใช้ “ภาษีคาร์บอน”
ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) คืออะไร? เป็นภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากกระบวนการการผลิต การจำหน่าย หรือการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน และน้ำมันเป็นต้น ซึ่งทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศปริมาณมาก โดยภาษีคาร์บอนเป็นมาตรการที่ใช้ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ
ในการเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) นอกจากจะเก็บภายในประเทศแล้ว “การเก็บภาษีคาร์บอนข้ามแดน ( Carbon Border Tax)” ก็เป็นอีกมาตรการที่หลายประเทศได้ให้ความสนใจมากขึ้น โดยประเทศยักษ์ใหญ่อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านร่างกฎหมายที่มีชื่อว่า CCA (Clean Competition Act) ที่จะเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง โดยผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีคาร์บอน 55 เหรียญสหรัฐ หรือ 2,024 บาท ต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน โดยจะบังคับใช้กับสินค้าประเภท เชื้อเพลิงฟอสซิล ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า กระจก อะลูมิเนียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย สินค้าที่มาจากการกลั่นปิโตรเลียม ไฮโดรเจน เยื่อกระดาษและกระดาษ กรดอะดิพิก และเอทานอล คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2567 และในปี 2569 จะเริ่มขยายให้ครอบคลุมไปยังสินค้าสำเร็จรูปที่มีสินค้าที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งในปัจจุบันร่างกฎหมายนี้ยังอยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณา
และในเดือนตุลาคม ปี 2566 ที่ผ่านมาทางสหภาพยุโรปได้เริ่มใช้มาตรการ “ปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism” หรือ “CBAM” สินค้าที่มีผลบังคับใช้คือ ซีเมนต์ พลังงานไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ซึ่งในระยะแรก ช่วงปี 2566 - 2568 ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องรายงานปริมาณการปล่อยคาร์บอนของกลุ่มสินค้าที่กำหนด แต่ยังไม่ต้องจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียม ในระยะที่สอง ช่วงปี 2569 - 2577 ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องรายงานปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้านำเข้าและต้องซื้อ CBAM Certificates ตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนของประเภทสินค้านั้น ๆ โดยอัตราการเสียค่าใบรับรอง ราคา ณ เดือนพฤศจิกายน ปี 2566 อยู่ที่ 76 ยูโรหรือ 3,021 บาท ต่อ การปล่อยคาร์บอน 1 ตัน และจะทยอยลดสิทธ์การปล่อยคาร์บอนแบบให้เปล่า (free allowances) หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการให้โควต้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย และในระยะที่สาม หรือตั้งแต่ปี 2578 เป็นต้นไป CBAM จะถูกใช้แบบเต็มรูปแบบและยกเลิกสิทธ์การปล่อยคาร์บอนแบบให้เปล่า (free allowances) ในทุกอุตสาหกรรม
ความก้าวหน้าการเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศไทยเป็นอย่างไร? ปัจจุบันในประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา การเก็บ “ ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ” โดยในระยะแรกจะเก็บภาษีคาร์บอน อยู่ที่ 200 บาทต่อ 1 ตันคาร์บอน จะเริ่มจากการเก็บภาษีน้ำมัน เพราะเป็นต้นน้ำของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการเก็บภาษีคาร์บอนของน้ำมันนั้นจะผูกติดกับค่าน้ำมันเลย เช่น น้ำมันดีเซลปัจจุบันจัดเก็บลิตรละ 6.44 บาท ซึ่งภาษีคาร์บอนจะเก็บในอัตรา 44 สตางค์ต่อ 1 ลิตร โดยในระยะแรกนั้นจะไม่มีผลกระทบกับประชาชนแน่นอน แต่ประชาชนจะรู้ว่าในการเติมน้ำมัน 1 ครั้งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่าไร ในอนาคตระยะที่สองและสาม อาจเก็บภาษีคาร์บอนในอัตราที่มากขึ้นเพื่อให้คนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมและหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คาดว่าระยะแรกจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอน ในปีงบประมาณ 2568 หรือ ประมาณเดือน ตุลาคม ปี 2567 ที่จะถึงนี้
โดยหน่วยงานที่กำกับและดูแลเรื่อง Carbon tax หรือ ภาษีคาร์บอนนั้นก็คือ กรมสรรพสามิต ซึ่งจะทำหน้าที่ในการเก็บภาษีคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และในอนาคตทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเข้ามาดูแลเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต ซึ่งอาจจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกพระราชบัญญัติลดโลกร้อน
ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการทำธุรกิจในไทย? แน่นอนว่าในภาคอุตสาหกรรมและการทำธุรกิจส่งออกของประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากยังไม่เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ต้นทุนในการผลิตและการส่งออกสินค้าออกนอกประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเพราะนอกจากจะมีการเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศแล้วก็ยังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนอย่าง CBAM และ CCA อีกด้วย แต่ข้อดีนั้นก็มีเพราะถ้าหากในภาคส่วนของอุตสาหกรรมและธุรกิจส่งออกปรับตัวได้เร็วก็จะทำให้สิ่งแวดลอมดีขึ้น คาร์บอนส่วนต่างที่ทางโรงงานสามารถลดได้ก็ยังสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรในตลาดคาร์บอน (Carbon Market) และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้นอีกด้วย
ในการเสีย Carbon Tax นั้นเราจะต้องทำควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปด้วยเนื่องจาก ภาษีคาร์บอนจะเรียกเก็บจากกระบวนการการผลิต การจำหน่าย หรือการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศปริมาณมาก หากทางองค์กรไม่หาวิธีการหรือแนวทางที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะทำให้ภาษีคาร์บอนที่ทางองค์กรจะต้องเสียนั้นมีมูลค่าที่สูงมาก ดังนั้นแล้วหากไม่อยากเสีย Carbon Tax มากก็ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อย
ที่มา:
เผยแพร่เมื่อวันที่
วียนคืออะไพลังนหมุนเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ามธรรมชาติรอบ ๆวทางเลืปัจเพืทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้น้ำมัน ถ่านหธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายนจนพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ หรือส่งกระทบต่อสิ่งแวดลเนื่องจากไม่ทำเปลี่ลิงค์ จำกัด รับกำจัด----------ต้อข้อมูลด้าบริการสิ่งแวดล้บถไที่g : 083-
Comments