เพิ่มอาหารเสริมให้พะยูนด้วยผัก แล้วพะยูนจะกินจริงหรอ?
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเริ่มรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทำให้แหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารหลักของพะยูนเสื่อมโทรม กรม ทช. จึงทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติเพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับพะยูน แต่พะยูนจะกินจริงหรือ?
เมื่อวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันมันตอนบน ได้ทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติ ซึ่งเป็นวันที่ 2 ในการทดลองวาง เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับพะยูนในสถานการณ์ที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรม บริเวณที่วางแปลงอาหารธรรมาชาตินั่นก็คือ แหล่งหญ้าทะเลท่าเทียบเรือหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใกล้กับบริเวณที่พะยูนเข้ามาหากิน ผักที่ใช้ในการวางนั้นจะใช้ 3 ชนิดด้วยกันคือ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง และผักคะน้า เพื่อทดสอบชนิดผักที่พะยูนสนใจ
และในอาทิตย์เดียวกันนั้นเอง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันมันตอนบนก็ได้มีการทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติเป็นครั้งที่ 3 โดยในครั้งนี้ใช้ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า และสาหร่ายผมนางผสมกัน
แล้วพะยูนจะกินจริงหรือ?
จากการทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติตั้งแต่วันที่ 2-8 พฤศจิกายน 2567 ผลปรากฎว่า เช้าของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 พบพะยูนเข้ามากินผักในแปลงอาหารธรรมชาติจนหมดทุกชนิด พะยูนที่เข้ามากินนั้นคือ “พะยูนหลังขาวใหญ่” พะยูนตัวนี้ได้กินอาหารจากแปลงดังกล่าวซึ่งประกอบไปด้วย สาหร่ายผมนาง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักบุ้ง จนหมด เหลือเพียงแค่ผักตบชวาเพียงเท่านั้นที่พะยูนตัวนี้ไม่กิน ถือได้ว่าการทดลองวางแปลงอาหารธรรมชาติครั้งนี้ประสบความสำเร็จ พะยูนได้เข้ามากินอาหารเสริมเหล่านี้จริง
จากการทดลองในครั้งนี้พบว่า พะยูนมีการเปลี่ยนแหล่งอาหาร โดยการเปลี่ยนไปกินสาหร่ายทะเลแทนหญ้าทะเล แต่สาหร่ายทะเลนั้นก็เป็นเพียงอาหารเสริมให้กับพะยูนเพียงเท่านั้นไม่สามารถเป็นอาหารหลักแทนหญ้าทะเลได้ แต่ถึงอย่างไรอาหารเสริมเหล่านี้ก็ทำให้พะยูนไม่ตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนอาหารได้
ที่มา
Comments