เกาะ Qikiqtaruk ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งแคนาดา นักวิจัยที่ทำงานอยู่แนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ของที่นี่ถูกกลืนลงทะเล โดยสาเหตุนั้นมาจากน้ำแข็งที่แข็งตัวถาวรกำลัง
ละลาย
ช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ในบริเวณอาร์กติกตะวันตกเผชิญกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว ควันจากไฟป่าในแคนาดาลอยฟุ้งในอากาศอย่างหนาทึบ ฝูงยุงต่างหาทางเอาตัวรอดจากสภาพอากาศที่ไม่ถูกแสงแดด นักวิจัยบนเกาะ Qikiqtaruk ต่างพยายามหาทางช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ
ในช่วงบ่ายของปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยชาวแคนาดาได้ดำน้ำลงไปในทะเลโบฟอร์ต และเล่นน้ำอยู่ในทะเลเป็นเวลานานเกือบ 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้นอนพักผ่อนอยู่บนชายหาดก็พบก้อนดินขนาดมหึมาของเกาะค่อย ๆ ไหลลงไปในมหาสมุทร
"ผืนดินกำลังบอกใบ้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" ริชาร์ด กอร์ดอน เจ้าหน้าที่อาวุโสกล่าว "ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น เราพบแอ่งน้ำใสจำนวนมาก แต่ในหลายวันที่ผ่านมาไม่ได้มีฝนตกเลย คุณเงยหน้าขึ้นไปมองแล้วเห็นแต่ท้องฟ้าสีคราม"
"ตอนนี้เรารู้แล้วว่า น้ำแข็งทั้งหมดในชั้นดินเยือกแข็งได้ละลายไปหมดแล้ว สัญญาณต่างๆ มีให้เห็นอยู่ แต่เราแค่ไม่รู้เท่านั้นเอง"
หลังจากนักวิจัยชาวแคนาดาได้พบเจอกับก้อนดินขนาดมหึมาของเกาะค่อย ๆ ไหลลงไปในมหาสมุทรนั้น ในช่วงสองสัปดาห์ถัดมา ก็เกิดดินถล่มซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั่วทั้งเกาะแห่งนี้ ทุ่งทุนดรา (ชีวนิเวศชนิดหนึ่งที่การเติบโตของไม้ต้นถูกจำกัดด้วยอุณหภูมิต่ำและฤดูกาลเติบโตสั้น อุณหภูมิต่ำมากจนทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งได้) แยกตัวออกไปมากกว่า 700 แห่ง บางแห่งถล่มลงมาอย่างรวดเร็ว ดินถูกฉีกออกจากผืนดินพร้อมเสียงดังสนั่นที่ชื้นแฉะ ในขณะที่บางแห่งเกิดการถล่มอย่างช้า ๆ ซึ่งพื้นดินจะ “เป็นลอนคลื่นและกลิ้งตัวเหมือนพรม” ลงมาตามเนินเขา “อิสลา ไมเยอร์ส-สมิธ” (Isla Myers-Smith) ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียกล่าว
ทีมวิจัยได้เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของทุ่งทุนดราด้วยโดรนจำนวนหนึ่ง และทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์พื้นเมืองชาวอินูเวียลุยต์ ในขณะที่พวกเขาเร่งทำความเข้าใจถึงความหมายของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น การรวมกันของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ดินถล่ม และน้ำท่วม ทำให้ภูมิทัศน์โดยรอบพังทลายลงอย่างแท้จริง ส่งผลให้การศึกษาบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งสะท้อนอนาคตที่วุ่นวายของเขตอาร์กติกตะวันตก ยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีก
เกาะ Qikiqtaruk ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งของแคนาดา เป็นเกาะที่มีตะกอนและชั้นดินเยือกแข็งทับถมกันเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย แม้เกาะแห่งนี้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็เต็มไปด้วยระบบนิเวศน์มากมายทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และพันธุ์พืชอีกนานาชนิด
ด้วยอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้ทุ่งทุนดราแห่งนี้มี “สีเขียว”ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้หญ้าฝ้าย มอส และไลเคน ซึ่งต้องใช้เวลาหลายร้อยปีหรือบางครั้งหลายพันปีในการเติบโตหายไป แต่ก็มีพันธุ์พืชใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามอาร์กติกที่เขียวขจีและอุดมสมบูรณ์จะต้องแลกมาด้วยราคาที่ต้องจ่าย นั่นก็คือชีวิตของสัตว์ต่างๆ เนื่องจากบริเวณโล่งในทุ่งทุนดราซึ่งเป็นที่โปรดปรานของไลเคนที่พวกมันชอบกินนั้นถูกแทนที่ด้วยพุ่มไม้ นกหัวโตสีทองอเมริกัน ซึ่งเป็นนกชายเลนที่บินจากอาร์กติกไปยังตอนใต้ของอเมริกาใต้ทุกปี จะต้องพบกับการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน เนื่องจากพืชเติบโตหนาแน่นขึ้นและเบียดเสียดพื้นที่โล่งๆ ที่เป็นผืนดินที่มันชอบ
ปัจจุบันเกาะ Qikiqtaruk มีหลุมยุบจำนวนมาก เนื่องจากชั้นดินเยือกแข็งละลายจนไม่สามารถรองรับดินชั้นบนได้ การที่ดินถล่มบ่อยขึ้นนอกจากทำให้ระบบนิเวศเสียหายแล้ว ยังทำให้การศึกษาเกาะนี้ยากมากขึ้นไปอีก เนื่องจากเครื่องบินบุชไม่สามารถลงจอดบนเกาะได้เพราะมีแอ่งน้ำจำนวนมาก และหมอกหนาทึบปกคลุมอ่าว ทำให้เฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถบินขึ้นได้เป็นเวลาหลายวัน พายุที่คาดเดาไม่ได้ทำให้เรือไม่สามารถเข้าถึงเกาะได้ ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมปีนี้ ทีมวิจัย Team Shrub ติดอยู่บนเกาะนานขึ้นอีก 12 วัน
ที่มา
Comentários