ปัจจุบันเทคโนโลยีเกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจึงทำให้ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ กำลังกลายเป็นปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางสหประชาชาติระบุว่าในปี 2022 มีปริมาณการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว 62 ล้านตัน คาดว่าในปี 2030 ที่จะถึงนี้ หรือใน 6 ปีข้างหน้า จะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอีกประมาณหนึ่งในสาม แต่หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือการป้องกันใด ๆ เกิดขึ้นเลย อาจเพิ่มเป็น 74 ล้านตัน ภายในปี 2030
สหราชอาณาจักรจึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และต้องการที่เปลี่ยนปัญหาของขยะเหล่านี้ให้เป็นโอกาสได้ “โรงกษาปณ์หลวงแห่งสหราชอาณาจักร” (Royal Mint) ที่เป็นผู้ผลิตเหรียญกษาปณ์ให้กับทางสหราชอาณาจักรมาอย่างยาวนาน ได้ริเริ่มโครงการที่จะเปลี่ยน “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ให้กลายเป็น “ทองคำ” ที่มีมูลค่า ซึ่งคาดว่าทองคำประมาณ 7% ในโลกใบนี้ถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้นโรงกษาปณ์หลวงแห่งสหราชอาณาจักร (Royal Mint) จึงได้จับมือกับ Exicr สตาร์ทอัพเทคโนโลยีพลังงานสะอาดของแคนานดา ซึ่งสามารถดึงเอาทองคำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 99% ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งยังสะอาด ปลอดภัย และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
เมื่อชิ้นส่วนของขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่โรงงาน ส่วนประกอบต่าง ๆ ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกแยกออกจากกันด้วยความร้อน โดยชิ้นส่วนต่าง ๆ จะแยกออกไปตาามสายพานลำเลียง สำหรับชิ้นส่วนที่มีทองคำจะถูกส่งไปที่โรงงานเคมี
เมื่อชิ้นส่วนที่มีทองคำถูกส่งไปยังโรงงานเคมีแล้วจะถูกนำไปใส่สารละลายเคมี เพื่อแยกทองคำออกมาจากของเหลว จากนั้นจะนำมากรอง จนได้เป็นผงทองคำบริสุทธิ์ เมื่อนำผงทองคำบริสุทธ์ไปเข้าในเตาเผาความร้อนมันจะกลายเป็นก้อนและทองคำที่มีความบริสุทธิ์ถึง 999.9
ทางหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของโรงกษาปณ์หลวง “อิงกา โดอัด” ได้กล่าวว่า “สิ่งที่เราทำอยู่นี้ เป็นการขุดเหมืองในเมือง เรากำลังนำขยะที่สังคมสร้างขึ้นมาแปลงให้เป็นทองคำ และเริ่มมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีจำกัดนั้น”
ซึ่งทางผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของโรงกษาปณ์หลวง “เลตัน จอห์น” กล่าวว่า “”สารเคมีที่เราเอามาใช้ มันถูกใช้ในอุณหภูมิห้อง ด้วยพลังงานต่ำมาก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และดึงเอาทองคำออกมาได้อย่างรวดเร็ว” ถือเป็นรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รายงานขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติประจำปี 2024 ระบุไว้ว่าสหราชอาณาจักรเป้นผู้ผลิตขยะเทคฌนโลยีต่อจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากนอร์เวย์ ซึ่งทางโรงกษาปณ์หลวงจึงเต้าเป้าที่จะกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้มากกว่า 4,000 ตันต่อปี
ทองคำที่ได้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ 4,000 ตัน สามารถสร้างได้ถึง 450 กิโลกกรัม มูลค่ารวมทั้งหมด 27 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยปัจจุบันขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 20% นั่นก็หมายความว่าทั้้งทองคำ ทองแดง เงิน และแพลเลเดียม รวมไปถึงโลหะที่มีมูลค่าสูงอื่น ๆ ถูกทิ้งไป ซึ่งมูลค่ารวมของสิ่งมีค่าที่ถูกทิ้งไปเฉย ๆ นั้นสูงถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 2 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่า GDP ของหลายประเทศทั่วโลก
การที่โรงกษาปณ์หลวงได้ทำโครงการเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นทองคำนั้น นอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว ก็ยังสามารถทำให้องค์กรสร้างรายได้และรักษาตำแหน่งงานเอาไว้ เพราะในปัจจุบันการใช้เงินสดลดลงเป้นจำนวนมาก ทาง “แอนน์ เจสโซปป์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโรงกษาณ์หลวงได้อธิบายว่า “เราไม่เพียงแต่รักษาโลหะมีค่าที่มีปริมาณจำกัดไว้สำหรับอนาคตเท่านั้น แต่เรายังต้องรักษาช่างฝีมือของเราไว้ด้วย เราจึงต้องย้ายพนักงานไปทำงานในกระบวนการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้พวกเขายังมีงานทำต่อไป ฉันภูมิใจที่จะได้ปกป้องโรงกษาปณ์ต่อไปอีก 1,100 ปี”
นอกจากการเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กลายเป็นทองคำแล้ว ทางโรงกษาปณ์หลวงยังพิจารณาการจัดการกับวัสดุอื่น ๆ ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถือได้ว่าเป็นการรีไซเคิลที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกันเลยทีเดียว
ทองคำที่ได้มาจาการรีไซเคิลจะถูกนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับคอลเล็กชัน 886 ซึ่งประกอบไปด้วยจี้ สร้อยข้อมือ และแหวนตราสัญลักษณ์ โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,525 - 2,995 ปอนด์ หรือประมาณ 69,000 - 135,000 บาท นอกจากนี้ยังมีการนำทองคำไปทำเป็นเหรียญที่ระลึก และเครื่องประดับเงินจากโละหะอีกด้วย
ที่มา
เผยแพร่เมื่อวันที่
Comments