top of page
  • YOLO

GISTDAหน่วยงานอวกาศในไทยคือใคร? แล้วบทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร?

มุนเนคืออะไร

พลังนหมุนเวีหรือ Renewable Energy คือ พลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งมีแหความเป็นมาของ GISTDA 


ในวันที่ 14 กันยายน 2514 ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการ NASA ERTS-1 เป็นดาวเทียมที่สำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลก ภายใต้การดำเนินการของโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม ของสำนักงานคณะกรรมการวัจัยแห่งชาติ โดยบทบาทหน้าที่คือ ประสานงาน จัดหาข้อมูลดาวเทียม ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมไปถึงจัดหาทุนฝึกอบรม ดูงาน และประชุม ทั้งในและนอกประเทศ


ความสำเร็จของโครงการนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนสถานภาพโครงการฯ เป็นหน่วยงานที่ชื่อว่า “กองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม” ในปี พ.ศ. 2522 และ 2525 ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีรับสัญญานดาวเทียมขึ้นที่ เขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร นับว่าเป็นสถานีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการเพื่อให้การทำงานคล่องขึ้น และด้วยความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีด้านการสำรวจข้อมูลระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ


 ระยะเวลาผ่านมาจนถึงปี 2543 ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่โดยรวมกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และฝ่ายประสานงานและส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตามพระราชกฤษฎีกาในนามของ “สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)”


และตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2543 จนถึงปัจจุบัน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มีตัวย่อว่า “สทอภ.” และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Geo-Information and Space Technology Development Agency (Public Organization - GISTDA)” ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐในรูปแบบขององค์กรมหาชน มุ่งเน้นการบริหารและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบริการข้อมูลสารสนเทศ บริการวิชาการต่าง ๆ รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน





วิสันทัศน์ของ GISTDA


เป็นองค์กรในการนำคุณค่าจากอวกาศและภูมิสารสนเทศสู่สังคม


วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง GISTDA


  1. 1. พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้เป็นความรู้ที่ไร้พรมแดนและเกิดประโยชน์ส่วนรวม

  2. 2. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศจากข้อมูลดาวเทียม และข้อมูลสำรวจจากแหล่งอื่น ๆ 

  3. 3. ให้บริการข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ซึ่งรวมทั้งการจัดทำแผนที่และบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง

  4. 4. ให้บริการจัดหาเครื่องมือออกแบบ หรือการบริการใด ๆ โดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้แก่หน่วยงานของรัฐ

  5. 5. ให้บริการให้คำปรึกษาและพัฒนาบุคคลากรในด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

  6. 6. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ซึ่งรวมทั้งการจัดหา การพัฒนา และการสร้างระบบดาวเทียม

  7. 7. กำหนดมาตรฐานกลางด้านภูมิสารสนเทศ และให้บริการรับตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมการนำมาตรฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปใช้

  8. 8. ส่งเสริมความร่วมมือและให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ


6 ภารกิจหลักของ “GISTDA” ที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาประเทศ


  1. 1. แผนที่ (Cartography)

  2. 2. เกษตรกรรม (Agriculture)

  3. 3. น้ำ (Water Resources)

  4. 4. ภัยพิบัติ (Disaster)

  5. 5. ผังเมือง (Urbun planning)

  6. 6. ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)


โดยข้อมูลที่จะนำมาทำภารกิจที่กล่าวไปข้างต้นนี้ได้รับมาจากดาวเทียม THEOS ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจโลกดวงแรกของไทย ในช่วงที่ผ่านมานักวิจัยและวิศวกรไทยได้พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศอัจฉริยะเป็นของเราเองภายใต้ THEOS - 2 ซึ่งพัฒนาระบบดาวเทียมภาคพื้นดิน ศูนย์ทดสอบและประกอบดาวเทียม การพัฒนา Solution พัฒนาแอพพลิเคชั่น และระบบ AIP เพื่อการใช้งานภูมิสารสนเทศชั้นสูง


และในวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 08.36 ตามเวลาของประเทศไทย ดาวเทียมสำรวจโลก THEOS - 2 ได้ขึ้นสู่วงโคจร ณ ท่าอากาศยานยุโรป เฟรนช์เกียนา เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเป็นดาวเทียมในโครงการของ GISTDA เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อยอดมาจาก THEOS - 1 (Thaichote) เป็นโครงการด้านเทคโนโลยีของประเทศขนาดใหญ่


ภายใต้โครงการ THEOS - 2 นั้นจะประกอบได้ด้วยดาวเทียม 2 ดวงนั่นก์คือ THEOS - 2 ที่เป็นดาวเทียมหลัก และ THEOS - 2A ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็กโดยมีทีมวิศวกรไทยร่วมออกแบบและพัฒนา เมื่อดาวเทียมขึ้นไปแล้วจะมีการทดสอบระบบในอวกาศร่วมกับสถานีภาคพื้นดินประมาณ 3 เดือน ก่อนจะใช้งานได้ โดยในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567  GISTDA ได้แสดงภาพแรกของดาวเทียม THEOS - 2 ให้ประชาชนได้ดูกัน ซึ่งทาง GISTDA คาดการณ์ว่า THEOS - 2 จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี


อำนาจหน้าที่ของ GISDA



  1. 1. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สินต่าง ๆ 

  2. 2. ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน

  3. 3. เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน

  4. 4. กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์

  5. 5. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการ

  6. 6. จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน

  7. 7. ติดต่อประสานงานและทำความตกลงร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนหรือช่วยเหลือทางวิชาการกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการอันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน

  8. 8. ปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมาย

  9. 9. กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน การเข้าร่วมทุนตามข้อที่ 3 และการกู้ยืมเงินตามข้อที่ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด


ที่มา


เผยแพร่เมื่อวันที


เามธรรมชาติรอบ ๆ วทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล พลังงานที่ใช้แล้ธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็จนพลังงานสะอาด ไม่กมลพิษ หรือส่งกระทบแวดล้อม เนื่องจากไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปล วันมอร์ลิงค์ จำกัด รับกำจัด--------ข้อมูลด้านบริสแวดล้บถไที่g : 083-844222

ดู 2 ครั้ง

Kommentare


bottom of page